ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

พบอีก"สนามบินเพชรบูรณ์"ร้างมา 5 ปี ทุ่มงบฯสร้างเกือบ 700 ล. ปล่อยเครื่องบิน"แอนโตนอฟ"จอดแช่ไร้ประโยชน์











วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 21:45:38 น.  มติชนออนไลน์

พบอีก"สนามบินเพชรบูรณ์"ร้างมา 5 ปี ทุ่มงบฯสร้างเกือบ 700 ล. ปล่อยเครื่องบิน"แอนโตนอฟ"จอดแช่ไร้ประโยชน์

สำรวจ ทั่วประเทศ หาสนามบินร้าง ปล่อยทิ้งไร้ประโยชน์ พบที่ "เพชรบูรณ์" ทุ่มงบฯสร้าง 662.25ล. ตั้งแต่ปี43 สุดท้ายเจ๊ง ไม่มีสายการบินลง ปล่อยเครืองบินแบบ "แอนโตนอฟ" 52 ที่นั่ง จอดแช่ไร้ประโยชน์ "โสภณ"เรียกทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องนัดถก 5 ก.พ. ปรับใหม่บริหารแอร์พอร์ต-สายการบินทั่วประเทศ

ความคืบหน้ากรณีสนามบินหลายแห่งทั่วประเทศถูกปล่อยให้รกร้าง ไม่สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากสายการบินพาณิชย์ที่เคยเปิดบริการประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากไม่มีประชาชนและนักธุรกิจใช้บริการหรือใช้บริการน้อยจนไม่คุ้มต่อ การให้บริการการบิน


ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มกราคม นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสนามบินทั้งหมด รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองบัญชาการทหารอากาศ (ทอ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาหารือในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ แนวทางการบริหารงานสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งการปรับเส้นทางการบินภายในประเทศ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ


 นายโสภณ กล่าวว่า จะนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนเรื่องการใช้สนามบิน การวางแผนเส้นทางการบิน โดยเบื้องต้นจะให้ข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ ก่อน เพราะกระทรวงคมนาคมต้องการที่จะพัฒนาสนามบินที่มีอยู่ทั่วประเทศไปใช้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 1 มีนาคมนี้ ก่อนที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะยกเลิกเส้นทางบินภายในประเทศทั้ง 3 เส้นทาง

 

 "เราจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เพราะสร้างขึ้นมาแล้วและใช้งบประมาณจำนวนมากจะไปทุบทิ้งก็ไม่ได้ ก็เลยต้องถามว่าใครอยากจะเข้ามาใช้บ้าง" นายโสภณกล่าว

 

 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษารายละเอียดของสนามบินภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง ว่า สนามบินใดมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำมาพัฒนาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้  เบื้องต้นคาดว่าจะมีประมาณ 12 แห่ง ส่วนที่เหลือกำลังดูรายละเอียด

 

 รายงานข่าวจากกรมการบินพลเรือน (บพ.)แจ้งว่า ท่าอากาศยานภูมิภาคส่วนใหญ่ของ บพ.มีผลการดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง เนื่องจากมีปริมาณจราจรน้อย บางครั้งผู้ขอใช้บริการเป็นภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เช่น เที่ยวบินทหาร การฝึกบิน เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ไม่ว่าจะมีปริมาณจราจรมากน้อยเพียงไร แต่ละแห่งก็มีรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นต้องจ่าย ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เงินเดือน และค่าตอบแทนแรงงาน การซ่อมบำรุงรักษา โดยในปีงบประมาณ 2552 นั้น บพ.ได้รับงบในการดูแลบริหารสนามบินทั้ง 28 แห่ง รวม 89 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2553 ได้รับจัดสรร 106 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ ปี 2552 อยู่ที่ 204 ล้านบาท และคาดว่าปี 2553 จะจัดเก็บได้ 220 ล้านบาท เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ลดค่าธรรมเนียมการใช้บริการสนามบิน 50% ตั้งแต่ปี 2552-53

 

 

อย่างไรก็ตาม ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนั้น บพ.ไม่ได้เก็บตามต้นทุนราคาที่แท้จริง เนื่องจากเป็นการให้บริการทางสังคม จึงไม่ได้เน้นเรื่องกำไร


 
 รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับผลประกอบการของท่าอากาศยานตั้งแต่ปี 2549-2551 มีผลกำไร 0.97 , 70.67 และ 66.55 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลกำไรจากท่าอากาศยาน 6 แห่ง คือ กระบี่ อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ขณะที่อีก 22 แห่งขาดทุน โดยสนามบินที่ขาดทุนมากที่สุด 3 อันดับคือ หัวหินขาดทุน 6.2 ล้านบาท นครราชสีมา 6.04 ล้านบาท และนราธิวาส 5.13 ล้านบาท


 "โอกาสในการทำกำไรของท่าอากาศยานใน อนาคตยังมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจมีน้อย และรัฐเห็นว่าการขนส่งอากาศในจังหวัดต่าง ๆ เป็นการให้บริการเชิงสาธารณะ จึงเก็บค่าธรรมเนียมน้อยกว่าท่าอากาศยานในภูมิภาคของ ทอท." แหล่งข่าวระบุ และว่า นอกจากนี้รายได้ของท่าอากาศยานส่วนใหญ่จะต้องนำส่งคลัง ทั้งค่าธรรมเนียมการขึ้นลงอากาศยาน และที่เก็บอากาศยาน ค่าเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีเพียงค่าธรรมเนียมการใช้ท่าอากาศยานเท่านั้นที่บพ.มีสิทธิจัดสรรเป็นเงิน กองทุนหมุนเวียนให้ท่าอากาศยานใช้จ่ายโดยไม่ต้องส่งคลัง

 

 ผู้สื่อข่าวภูมิภาค"มติชน"ประจำจ.เพชรบูรณ์ รายงานว่า สนาม บินเพชรบูรณ์ เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2543 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 662.25 ล้านบาท แต่ไม่มีเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์ลงจอดเมานานราว 5 ปีแล้ว แม้สภาพอาคารที่พักผู้โดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งรันเวย์หรือทางวิ่ง หอบังคับการบิน ระบบวิทยุช่วยการเดินอากาศ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ก็ตาม สาเหตุเพราะการบินไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย โดยสายการบินแรกที่เคยเปิดให้บริการ คือ สายการบินไทย เปิดบริการระหว่างปี 2543-45 โดยใช้เครื่องบินขนาด 149 ที่นั่งบินในเส้นทาง กรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-ลำปาง-กรุงเทพฯ

 

 ต่อมาสายการบินพีบีแอร์เปิดเที่ยวบิน เพชรบูรณ์-กรุงเทพฯ ระหว่างปี 2545 - 2547 โดยใช้เส้นทางการบินเดียวกัน หลังจากนั้นไม่มีเครื่องบินพาณิชย์มาลงจอดอีกเลย แม้สายการบิน แอร์ฟินิค จะให้ความสนใจและมาแถลงเปิดตัวเพื่อดำเนินกิจการต่อในปี 2551 แต่ท้ายที่สุดกลับเงียบหายไป

 

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดมีนักธุรกิจของจ.เพชรบูรณ์เตรียมลงทุนสายการบินพาณิชย์ภายใต้ชื่อ "เพชรบูรณ์แอร์ไลน์" โดยกำหนดเส้นทางการบิน เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-เชียงใหม่ และ เพชรบูรณ์-แม่สอด-น่านโดยนำเครื่องบิน"แอนโตนอฟ"(Antonov)รุ่น 24  ขนาด 52 ที่นั่ง ผลิตจากรัสเซียจอดไว้ที่ลานจอดท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ แต่ติดปัญหาความพร้อมทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ กระทั่งเครื่องบินถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ

 

 นายประสิทธิ์ สมบูรณ์พันธ์ เจ้าหน้าที่ดูแลท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ราว 20 คน คอยดูแลทั้งสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ จึงทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้ยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และที่ผ่านมาก็มีเครื่องบินเอกชนทั้งแบบเช่ามาลำและเครื่องบินของราชการมาลง จอดเป็นครั้งคราว

 

 นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธาน หอการค้า จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ชาวเพชรบูรณ์เรียกร้องมาตลอดให้มีเครื่องบินมาจอด และน่าเสียดายที่เพชรบูรณ์มีสนามบินแต่กลับไม่มีเครื่องบินลง ส่วนที่สายการบินต้องลดเที่ยวบินไปโดยอ้างเรื่องไม่คุ้มกับจุดคุ้มทุนนั้น หากจัดสรรช่วงเวลามาลงที่เพชรบูรณ์ให้ดีเชื่อว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการค่อน ข้างมาก

 

 " ช่วงนี้เพชรบูรณ์เติบโตทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ชาวเพชรบูรณ์ให้ความสนใจใช้บริการโดยสารทางอากาศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีธุรกิจคาร์โก้ หากจัดเที่ยวบินให้ตรงตามความต้องการเชื่อว่า ผู้โดยสารต้องหันมาใช้บริการอย่างแน่นอน ส่วนการนำเครื่องบินขนาด 10 ที่นั่ง มาให้บริการถือเป็นอีกทางเลือกที่ขณะนี้หลายจังหวัดเริ่มหามาให้ความสนใจ แล้ว " นายกษิตกล่าว


 นายกษิตกล่าวว่า ทางที่ดีทางภาครัฐควรเป็นเจ้าภาพหลัก เชิญชวนและสนับสนุนสายการบินพาณิชย์มาลงทุน เพราะหากยังปล่อยให้สนามบินถูกทิ้งร้างไว้แบบนี้ นอกจากต้องเสียงบฯบำรุงดูแลรักษาแล้วยังเสียภาพลักษณ์

 




อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบสนามบินอุตรดิตถ์กลายเป็นที่ส่งยาบ้า-เลี้ยงวัว กรอ.มอบคมนาคมจัดการ ดูศักยภาพ28แห่งเผื่อเปิดใช้ใหม่
สนามบิน 3 จังหวัด ถูกปล่อยรกร้าง หลังไมมีเครื่องบินพาณิชย์ใช้บริการ
"โสภณ"เล็งบีบบินไทยเปิด3เส้นทางบินต่อ ไม่จ่ายชดเชยให้ขึ้นค่าตั๋วเอง สนามบินร้างเกลื่อน-ใช้เลี้ยงวัว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1264680500&grpid=00&catid=19

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thanks for visiting!  
news9
http://pnac-th.blogspot.com/  pnac-th
http://nature1951.blogspot.com/ nature1951
http://econnews9.blogspot.com/ econ
http://seminars9.blogspot.com/ ilaw
http://politic9.blogspot.com/ pdc9
http://jaecafe.com/feed
http://elibrary.nfe.go.th/index2.php
http://www.kmutt.ac.th/rippc/info.htm
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/sat191
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/sweetblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น