ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นาโนเทค-ชีวภาพสาหร่าย-ข้อมูลบนมือถือ ทำนาย 3 นวัตกรรมใหม่...ร้อนแรงแห่งยุค

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11554 มติชนรายวัน


นาโนเทค-ชีวภาพสาหร่าย-ข้อมูลบนมือถือ ทำนาย 3 นวัตกรรมใหม่...ร้อนแรงแห่งยุค





นาโนเทค
บริษัท ทอมป์สัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) ทำการวิเคราะห์หานวัตกรรมใหม่ที่ร้อนแรงจากเอกสารสิทธิบัตรในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และสรุปคาดการณ์ว่า นวัตกรรมใหม่ ใน 3 หัวข้อ ได้แก่

1.เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย (Biofuels from Algae)

2.ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ (Cell Phone Data) + โครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Network Roaming)

3.นาโนเทคโนโลยี Lab-on-a-chip อุปกรณ์วินิจฉัยโรคแบบนาโนขนาดจิ๋ว

มี การเติบโตอย่างโดดเด่นมากในเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ โดยเฉพาะนวัตกรรมเรื่อง การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย

ใน ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย "พลาสติค" ไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับความสำเร็จ เชื่อมั่นอีกต่อไป เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินและรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคย เป็น ในขณะนี้โลกกำลังประสบภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เสาหลักของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สูญเสียความรุ่งโรจน์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง พวกเรากำลังเฝ้ามองดูว่านวัตกรรมสาขาใดที่จะเป็นแหล่งเพาะที่สามารถมากอบกู้ เศรษฐกิจ และจะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต

เพื่อหาคำตอบ เรื่องนี้ แผนก IP Solutions Business ของทอมป์สัน รอยเตอร์ส ได้ตรวจสอบหานวัตกรรมที่ร้อนแรงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ วิธีการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จากฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI sm) ซึ่งเป็นข้อมูล/บริการชุดหนึ่งของ ทอมป์สัน รอยเตอร์ส ทำการวิเคราะห์หากิจกรรมของสิทธิบัตรทั่วโลกในสาขา Biofuels, Telecom และ Bio-related nanotechnology นับจำนวนสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท คือ คำยื่นขอ และได้รับการคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาในปี 2003-2008 และมกราคม-มีนาคม 2009 จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลบนมือถือ


ขณะ นี้โลกกำลังแสวงหาพลังงานสะอาด (green energy) ซึ่งประกอบด้วยพลังงานตั้งแต่พลังงานลม (wind turbines) ไปจนถึงพลังงานไฮโดรเจน (hydrogen-powered vehicles) ส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) มีทั้งชนิดของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวต ซึ่งนักนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ความสนใจพัฒนา ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่หนึ่งทำมาจาก น้ำตาล แป้ง น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์

มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการดึงมาจากแหล่ง โซ่อาหารของมนุษย์ จึงมีการริเริ่มผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ถาวร ยั่งยืนมากขึ้นกว่าเดิม

เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 ตัวอย่างเช่น การใช้ของเสียที่ได้จากสิ่งมีชีวิตจากส่วนที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ลำต้น กิ่งก้านข้าวสาลี ซังข้าวโพด

สิ่งที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ อาจเรียกเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 3 คือการพัฒนาจาก สาหร่าย สาหร่ายถือเป็นสิ่งที่นำเข้าแบบชั้นต่ำ แต่ให้ผลผลิตสูง มีความสามารถในการผลิต เป็น 30 เท่าต่อเอเคอร์ เมื่อเทียบกับถั่วเหลือง ใครเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ และพวกเขากำลังทำอะไรอยู่

เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย


โดยการรวบรวมเกี่ยวกับฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI

DWPI คือฐานข้อมูลที่รวบรวมเอกสารสิทธิบัตรทั้งประเภทการยื่นขอ (Applications) และประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง (Grants) จากสำนักงานสิทธิบัตร 41 แห่งทั่วโลก รวบรวมและปรับปรุงเขียนใหม่ (Rewritten) ให้เป็นภาษาอังกฤษโดยกองบรรณาธิการของ DWPI จัดทำบทคัดย่อแบบสั้น มีการระบุให้ patent family (แสดงรายชื่อประเทศที่เอกสารสิทธิบัตร 1 เรื่องที่ทำการไปยื่นขอจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก) แสดงประเทศแรกที่ยื่นขอ และเรียงลำดับตามที่ยื่นขอในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงเป็น Equivalent patents ขณะนี้ DWPI มีเอกสารสิทธิบัตร 16 ล้านเรื่อง ที่มีความเหมือนกัน ราว 10 ล้านเรื่อง และมีการเพิ่มข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ใหม่ราวปีละ 1 ล้านเรื่อง Basic Format ของฐานข้อมูล DWPI ได้แก่ บรรณานุกรมเอกสารสิทธิบัตร บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) Manual code Special Indexing ประกอบด้วย คิดค้นระบบรหัสการจัดหมวดหมู่เอกสารสิทธิบัตรของตนเอง รหัสบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แบบเป็นมาตรฐาน

ทอมป์สัน รอยเตอร์ส เสนอข้อสังเกตจากการวิเคราะห์

1.นวัต กรรมเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2003 ด้วยการวัดปริมาณจำนวนเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก จากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index พบมีจำนวนน้อยเพียง 341 เรื่อง ถือเป็นสาขาวิจัยพัฒนาขนาดเล็ก และมีผู้นำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70 และเป็นสิทธิบัตรที่ขอยื่นในประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 31

2.ในปี 2008 - 5 ปีต่อมา พบว่ากิจกรรมสิทธิบัตรในเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 550 คิดเป็นจำนวน 1,878 เรื่อง

3.ใน ช่วงระยะเวลาล่าสุด (มกราคม 2008-เมษายน 2009) จำนวนสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมีเพิ่มขึ้นเป็น 2,466 เรื่อง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มก้าวเข้ามาในเรื่องนี้ คิดเป็นร้อยละ 31 ที่ทำการยื่นขอในประเทศจีน บริษัทจีนมีส่วนแบ่งในตำเหน่งผู้นำ 10 อันดับแรกพร้อมกันกับบริษัทญี่ปุ่น

4.มีข้อถกเถียงกันอย่างมากใน สื่อต่างๆ เกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม แง่ผลกระทบที่มีการนำพืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกที่เป็นอาหารมนุษย์มาผลิต เป็นพลังงานชีวภาพ

5.ในช่วงปี 2008-2009 บริษัทผู้นำ 11 บริษัท มีการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย เป็นหลัก โดยเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา 8 ใน 11 บริษัทนั้น

ที่เหลือได้แก่ บริษัทจาก บราซิล สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โดยที่บริษัทจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ปรากฏอยู่ในรายการบริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก

หน้า 26

มาบตาพุดกับรางวัลโนเบล! โดย อภิชาต ทองอยู่ สถาบันผู้ประกอบการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) ม.กรุงเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11554 มติชนรายวัน


มาบตาพุดกับรางวัลโนเบล!


โดย อภิชาต ทองอยู่ สถาบันผู้ประกอบการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) ม.กรุงเทพ




ร้อน แรงพอควรสำหรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้ ที่นักวิชาการสตรี สาขารัฐศาสตร์ เอลินอร์ ออสทรอม คว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ไปได้ นับเป็นสตรีคนแรกในรอบ 40 ปีที่ได้ครอบครองรางวัลนี้ แถมตัวเธอเองยังไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์โดยตรงอีกด้วย

ทำให้นึก ถึงนักวิชาการเศรษฐศาสตร์สตรีไทยหลายคน เช่น อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์นวลน้อย ตรีรัตน์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬาฯทั้ง 2 ท่าน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่มสตรีหันมาสนใจเศรษฐศาสตร์ การเมืองกันมากขึ้น

เอลินอร์ ออสทรอม มีผลงานในการสร้างงานด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาล" (economic governance) ที่ว่าด้วย "สมบัติของส่วนรวม" (the commons) มาอย่างต่อเนื่อง แม้จะถ่อมตัวว่าเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยเล็กๆ ประจำเมืองแต่ผลงานของเธอไม่ธรรมดาเพราะมีรางวัลโนเบลเป็นหลักประกัน

ผล งานการศึกษาเรื่องการจัดการทรัพย์สินสาธารณะ (common property) ด้วยการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วม (common ownership) เป็นงานที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลในการคงสถานะและคุณภาพทรัพยากรที่มี ประสิทธิภาพ ด้วยการดูแลรักษาแบบถือครองร่วมกัน ซึ่งแม้การจัดการแบบนี้จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปอย่างที่เธอบอก แต่การดูแลและการครอบครองร่วมกัน การจัดการอย่างเป็นระบบก็ช่วยให้วงจรของการถูกนำมาใช้ของทรัพยากร การฟื้นตัวของสิ่งแวดล้อม มีทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

การศึกษาของ เอลินอร์ ศึกษาจากกลุ่มท้องถิ่นขนาดเล็กและขนาดกลาง ในเรื่องการดูแลทรัพยากรร่วมกันในระบบชลประทานที่ชาวบ้านในเนปาลจัดทำกันเอง นับร้อยกลุ่ม และจากกลุ่มชาวประมงกุ้งในทะเลใหญ่ในมลรัฐเมน

ผลการ ศึกษาพบว่าการธรรมาภิบาลทรัพยากรในแนวทางนี้มีประสิทธิภาพสูง มีต้นทุนต่ำ ซึ่งเธอให้สัมภาษณ์ว่าผลจากการศึกษาที่ได้คงไม่ใช่สูตรสำเร็จแบบครอบจักรวาล ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกที่ ทุกกลุ่ม หรือเป็นบทสรุปที่ต้องปล่อยให้ชาวบ้านไปจัดทำกันเองไปแต่ลำพัง

เพราะเรื่องเหล่านี้มีปัจจัย เงื่อนไข และสถานการณ์หลากหลายที่เป็นองค์ประกอบต้องนำมาพิจารณา

การ ให้คุณค่าในเรื่องธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่อง ที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลให้ความสนใจ เรื่องนี้น่าจะนำมาช่วยพิจารณาปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุดได้ อย่างดี จากการที่ศาลฯได้สั่งหยุด 76 โครงการน่าจะเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นภาพความเป็นจริงที่น่าวิตกในการ จัดการเศรษฐกิจ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในสังคมบ้านเราอย่างยิ่ง ซึ่งกรณีนี้มีข้อควรพิจารณาถึงมูลเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นโดยสรุปบางประการ กล่าวคือ

ประการแรก พื้นฐานการก่อร่างสร้างตัวที่มาบตาพุด (ตั้งแต่เริ่มโครงการในต้นทศวรรษพุทธศักราช 2520) นับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาเขต อุตสาหกรรมของประเทศ รัฐได้ให้ความสำคัญเฉพาะกับมิติเศรษฐกิจเป็นหลักโดยยึดแนวคิดการพัฒนาที่ เดินตามวาทกรรมทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งหมกมุ่นอยู่กับการสร้างผลกำไรในการลงทุนมิติเดียวโดดๆ

แนวทาง เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาลแบบเอลินอร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลปีนี้เป็นเรื่องที่ ไม่ถูกพูดถึงตั้งแต่เริ่มโครงการ ผลกระทบทั้งหลายไม่ว่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุด จึงเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางสังคมตลอดมา

มาบตาพุดจึงกลาย เป็นมหากาพย์อภิตำนานความขัดแย้งที่คนท้องถิ่นลุกขึ้นมาต่อต้านความหิว กระหายความมั่งคั่งอย่างไม่ลืมหูลืมตาของกลุ่มอุตสาหกรรมมาต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันนี้

ประการที่สอง เป็นประเด็นเรื่องขององค์ความรู้กับความอ่อนแอของการบังคับใช้กฎหมายที่ เกี่ยวกับการนำใช้ทรัพยากร และการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตอุตสาหกรรม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องการประสบการณ์และการเรียนรู้ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาที่ใช้เวลาและความทุ่มเทมาก

ซึ่งในขบวนการ การเติบโตของอุตสาหกรรมเขตมาบตาพุด ได้มีการอาศัยช่องว่างของการขาดองค์ความรู้และจุดอ่อนในการบริหารจัดการทาง กฎหมายมาเป็นปัจจัยในการ "ลดต้นทุน" ของการเติบโตดังกล่าว โดยที่ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ถูกโยนให้เป็นภาระของท้องถิ่นและสังคมที่ต้องร่วมรับผิดชอบกันเอง

ประกอบ กับสังคมไทยมีพื้นฐานแบบสังคมอุปถัมภ์ การต่อสายตรงกับราชการที่มีอำนาจในการจัดการ และอำนาจทางการเมืองของผู้ประกอบการย่อมคุ้มทุนกว่า และในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะมีพลังมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย

ผู้ ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมจึงมักต่อสายตรงกับอำนาจ มากกว่าจะยอมทำตามกฎหมาย ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหลายกรณีรวมทั้งการจัดการอุตสาหกรรมทีพีไอในพื้นที่ ใกล้ๆ มาบตาพุดด้วย

หรือมิฉะนั้นก็ยอมทำกันตามกฎเพียงให้ครบองค์ประกอบของพิธีกรรม เช่น การทำ EIA เป็นต้น

ซึ่ง เมื่อผ่านการกลั่นกรอง (ที่ต้องถามหามาตรฐานและมาตรการในการทำงานใหม่ทั้งระบบ) ก็ใช้นำไปอ้างเป็นความชอบธรรมได้ การบริหารจัดการภายใต้ระบบอุปถัมภ์เช่นว่านี้ สะท้อนถึงความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมายและการขาดความรับผิดชอบของผู้ ประกอบการจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ก่อผลเสียหายอย่างมากต่อการลงทุน

และส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบ มีธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจอย่างน่าวิตก

ประการ ที่สาม ภาพรวมทางจิตวิทยาสังคม ที่เป็นประเด็นความคิดในการพัฒนาประเทศมักมีการสร้างกระแสให้ผู้คนในสังคม ตื่นตูม ให้ความสำคัญกับตัวเลขการเติบโตแบบคณิตศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งในรูปของจีดีพี ยิ่งมากยิ่งน่าตื่นเต้น (เหมือนกับที่สังคมให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ใบปริญญามากกว่าให้ความสำคัญ ในความรู้ความสามารถ)

ด้วยเหตุนี้สิทธิและการยอมรับทางสังคมจึง เปิดทางให้กับตัวเลขการลงทุน และการสร้างผลกำไรเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นจะไปหล่นอยู่ในกระเป๋าใครบ้าง ความสนใจเรื่องคุณภาพชีวิต การกระจายรายได้ และความรับผิดชอบร่วมในการพัฒนาประเทศ จึงถูกกลืนหายไปกับวาทกรรมตัวเลขทางเศรษฐกิจ

หรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องน่ารำคาญหากจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณากัน!

ด้วย กระแสความรู้สึกเช่นนี้ตัวเลขของมูลค่าการลงทุน 2 แสนล้านจึงถูกให้สำคัญมากกว่ามูลค่าความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมและชี วพันธุ์ 5 แสนล้านฯ เป็นต้น

คุณค่าของชีวิต และคุณภาพสังคม จึงถูกกำหนดอยู่บนฐานการขับเคลื่อนด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

สภาวะ เช่นนี้กลุ่มคนท้องถิ่นและคนพื้นบ้าน โดยเฉพาะชาวบ้านซึ่งเคยมีพื้นที่ร่วมอยู่ในศูนย์กลางสังคมและเศรษฐกิจที่มาบ ตาพุดจึงถูกทำให้กลายเป็นคนชายขอบไปโดยปริยายเมื่ออาณาบริเวณดังกล่าวถูก กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม!

การบริหารจัดการที่ขาดการพิจารณาถึง องค์ประกอบแวดล้อมที่เป็นจริงอาศัยแต่จิตวิทยาสังคมมิติเดียวที่ห่อเหี่ยว จึงเป็นปัจจัยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งขึ้นต่อเนื่องเรื่อยมาอย่าง ไม่อาจปฏิเสธได้

จากประเด็นหลักโดยสรุปที่กล่าวมานี้ สามารถขยายเป็นประเด็นยิบย่อยได้อีกมาก ในกรณีนี้หากต้องการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่มาบตาพุดอย่างจริงจัง หลักการทางปฏิบัติเบื้องแรกคงต้องหาข้อยุติที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน

ซึ่งข้อยุติที่เกิดขึ้นและยอมรับกันได้ทุกฝ่ายคงต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและความเป็นธรรม

ใน ที่นี้คือการยุติหลักการความขัดแย้งระหว่างแนวทางทุนนิยมอุตสาหกรรม กับความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และสมรรถนะการแบกภาระการฟื้นฟูตัวเองของธรรมชาติ (carrying capacity) ในเขตมาบตาพุดเป็นหลัก

ซึ่งการจะก้าวไปถึงจุดนี้ได้คงต้องศึกษางาน ของผู้ได้รางวัลโนเบลปีนี้ที่ว่าด้วย "เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาล" (economic governance) และการจัดการในลักษณะการครอบครองร่วม (common ownership)

ซึ่งกรณีมาบตาพุดเป็นกรณีที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับหลายๆ ฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย

ซึ่ง การแก้ไขที่ยืนหยัดอยู่บนหลักการที่ยอมรับสภาพความจริงและให้ความเป็นธรรม กับทุกฝ่ายเท่านั้น จะเปิดทางสู่การสร้างผลประโยชน์และการพัฒนาร่วมกันได้ รางวัลโนเบลกับมาบตาพุดจึงมีเส้นทางที่วกมาเชื่อมต่อกันด้วยความบังเอิญ!

การ ลงทุนที่ตั้งอยู่บนฐานคติที่ละเลยความเป็นจริงทางด้านคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม และธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจ กำลังจะกลายเป็นอาชญากรรมของโลกยุคใหม่ ที่กำลังก้าวเข้าสู่ความอยู่รอดและความมั่งคั่งแบบใหม่ด้วยการขับเคลื่อน ของกลุ่ม "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" และ "เศรษฐกิจฐานความรู้" ในเวลาอีกไม่นานนัก


หน้า 6

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อย่าให้ “เคอิโงะ” เป็นเพียงแค่สินค้าที่ขายได้


อย่าให้

ดู ข่าวที่น้องเคอิโงะ ซาโตะ เด็กชายวัยประถมฯ ที่เรียนหนังสืออยู่ที่พิจิตร ตามหาพ่อที่ชื่อคัทซูมิซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น วันก่อนโน้นน้องเคอิโงะเริงร่าขึ้นมา เมื่อคุณพ่อนั่งเครื่องบินจากญี่ปุ่น มาแลนดิ้งที่สุวรรณภูมิบ้านเรา

ในแง่มุมหนึ่ง ออกจะชื่นชมสื่อมวลชนแทบจะทุกแขนงก็ว่าได้ ที่ติดตามทำข่าวน้องเคอิโงะ จนสามารถทำให้ความฝันของเด็กชายบ้านนอกตัวเล็กๆ ได้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงก็ตาม

แต่พักหลังๆ ผมคิดไปว่ามันจะชักจะ "เกินไป" หน่อยไหม...

แม้ สื่อมวลชนต้องการติดตามความคืบหน้าของเคอิโงะ แต่ภาพที่ออกมาไม่เหมาะสมด้วยการนำเสนอข่าวแบบเกาะติด ยิ่งกว่าเห็นเขาทั้งสองเหมือนดาราดัง ทั้งๆ ที่คนเป็นพ่อต้องการแสดงความเป็นส่วนตัว ตามประสาปุถุชนทั่วไป

ผมเห็น สื่อมวลชนเกาะติดตั้งแต่ทั้งคู่นอนพักที่โรงแรม พาลูกไปเล่นน้ำที่สวนสยาม กลับมาเยี่ยมบ้านแม่ที่พิจิตร ไหว้กระดูกมารดา แม้กระทั่งเข้าไปทำธุระเรื่องการเลี้ยงดูที่อำเภอ ผมว่ามันคลับคล้ายคลับคลาว่า นี่มันหนังเรื่อง "เดอะทรูแมน โชว์" นี่หว่าเนี่ย

จากที่เคยสงสาร ผมว่ากลับยิ่งสะอิดสะเอียน  เหมือนน้องเค้าเป็นเทวดาชั้นใด หรือสามล้อถูกหวยงวดไหน?

ผม ไม่ได้ว่าน้องเคอิโงะ ไม่ได้ว่าพ่อที่ขาดการติดต่อกับลูก เพราะเป็นเรื่องของครอบครัว หากแต่ว่าการนำเสนอเรื่องนี้ ในเมื่อพ่อลูกได้เจอกันที่สนามบิน มันน่าจะจบลงแค่นี้แล้วไม่ใช่หรือ ถือว่าสื่อพาน้องเค้าไปสู่ความฝันได้ยังนับว่าโอเคแล้ว

ส่วนความ ช่วยเหลือใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ห้องพักฟรี ให้เสื้อผ้าฟรี ให้บัตรเที่ยวสวนน้ำ 10 ปี ก็น่าจะเป็นการให้โดยเสน่หา โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้สื่อบอกกับคนซื้อหนังสือพิมพ์หรือคนดูข่าวในโทรทัศน์ ทุกเรื่อง เหมือนเป็นการโฆษณาแฝงไปในตัว

อีกอย่างที่น่าตำหนิก็คือ การที่ผู้ใหญ่บางคนเอาผ้าขาวบริสุทธิ์ของน้องมาล้างน้ำแล้วย้อมสี ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนตีแผ่ชีวิต หรือแม้กระทั่งการออกเทป นี่ดีไม่ดีถ้าผู้ใหญ่ในพิจิตรบ้าจี้มากกว่านี้ คงเอาน้องเคอิโงะมาตั้งชื่อถนนแล้วขอยศร้อยตรีให้ฟรีๆ

โอเค ถึงแม้ว่าจะเป็นการตีแผ่ชีวิตจริง แต่ผมไม่เชื่อหรอกว่าการที่เอาน้องเคอิโงะมาต่อยอดเช่นนี้ จะทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงร้อยเปอร์เซ็นต์ และหากเป็นเช่นนี้ มันจะกลายเป็นการปลูกฝังค่านิยมในตัวน้องและเด็กคนอื่นๆ ให้เป็นคนที่จะเอาอะไรก็ได้ในอนาคต

แค่โวยวายให้เป็นข่าว "หน้าหนึ่งไทยรัฐ-ข่าวสด" ก็ได้ตามต้องการแล้ว

เพราะ ฉะนั้น ในเมื่อผมเห็นว่าเด็กยังอ่อนต่อโลกเกินไปที่ผู้ปกครองจะปล่อยวาง ขอให้น้องเคอิโงะเป็นเพียงความทรงจำน่ารักๆ ครั้งหนึ่งที่ได้ตามหาพ่อ เหมือนกับที่เราดูรายการทีวีอย่างเช่น ฝันที่เป็นจริงเมื่อสิบปีก่อน หรือรายการวันนี้ที่รอคอย

มากกว่าที่จะเอาความเป็นข่าวมาเป็นจุดขายเพื่อหากินกับเด็กครับ

ป.ล. หมีแพนด้าก็ไปแล้ว เคอิโงะก็ไปแล้ว น้องหม่องก็ไปแล้ว ต่อไปจะขายอะไรอีก... เอา "น้องแน็ต-เกศริน" มาจับล้างน้ำใหม่ดีไหม?

http://www.talkystory.com/site/article.php?id=8465
--
      Weblink
seminar
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://seminarmon.blogspot.com
http://seminartue.blogspot.com
http://seminarwed.blogspot.com
http://seminarthu.blogspot.com
http://seminarfri.blogspot.com
http://seminarsat.blogspot.com
http://seminar1951.blogspot.com
http://seminardd.com
www.ipthailand.org