ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลี้ยแป้งยังระบาดในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรบุรีรัมย์ใน 11 อำเภอ เสียหายแล้วกว่า 8.2 หมื่นไร่

เพลี้ยแป้งมันระบาดบุรีรัมย์เสียหายกว่า 8.2 หมื่นไร่

18 มีนาคม 2553 เวลา 14:41 น.

เพลี้ยแป้งยังระบาดในไร่มันสำปะหลังของเกษตรกรบุรีรัมย์ใน 11 อำเภอ เสียหายแล้วกว่า 8.2 หมื่นไร่

นายศานติ   นึกชอบ   เกษตรและสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จากเพี้ยแป้งระบาดในไร่มันสำปะหลังเพิ่มเป็น 11 อำเภอแล้ว โดยอำเภอที่ระบาดมากที่สุด คือ อ.โนนสุวรรณ  ปะคำ  และ อ.หนองกี่  และจากข้อมูลพบว่าขณะนี้มีพื้นที่ไร่มันของเกษตรกรได้รับผลกระทบแล้วกว่า 82,000 ไร่  จากพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั้งจังหวัดกว่า 240,000 ไร่ 
 
ทั้ง นี้ยังมีแนวโน้มการแพร่ระบาดของเพี้ยเพิ่มมากขึ้น   เนื่องจากสภาพที่แห้งแล้งจะเอื้อต่อการแพร่ระบาดได้ง่าย      อย่างไรก็ตามขณะนี้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรกร  ได้จัดเจ้าหน้าที่เร่งออกให้ความรู้เกษตรกร   เกี่ยวกับวิธีป้องกันและกำจัดเพี้ยแป้งอย่างต่อเนื่องแล้ว     

เกษตรและสหกรณ์จังหวัด   ยังระบุอีกว่า   หลังมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ  ขณะนี้ก็ได้จัดซื้อสารเคมีแจกจ่ายให้เกษตรกร นำไปฉีดพ่นเพื่อกำจัดเพี้ยแป้งในเบื้องต้นแล้ว     ส่วนเงินชดเชยไร่มันที่ได้รับความเสียหาย  และท่อนพันธุ์ที่เกษตรกรร้องขอ เพื่อนำไปเพาะปลูกในฤดูกาลผลิตหน้า  กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการ

http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99/17286/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-8-2-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88


--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

JasMin Jaja มุมสะท้อนความคิกเรื่องคนไร้บ้าน จากวรรณคดี ระเด่นลันได


 


มุมสะท้อนความคิดเรื่องคนไร้บ้าน จากวรรณคดี ระเด่นลันได :

JasMin Jaja มุมสะท้อนความคิดเรื่องคนไร้บ้าน จากวรรณคดี ระเด่นลันได

 วันจ. เวลา 0:52 น.

บทละครเรื่อง ระเด่นลันได ถ้าอ่านโดยไม่ทราบเค้ามูล ก็คงจะเข้าใจว่า เป็นบทแต่งสำหรับ เล่นละครตลก แต่ความจริง ไม่เป็นเช่นนั้น หนังสือเรื่อง ระเด่นลันไดนี้ที่แท้เป็นจดหมายเหตุ เรื่อง ระเด่นลันได เป็นหนังสือแต่งในรัชกาลที่ ๓ เล่ากันมาว่า ครั้งนั้น มีแขกคนหนึ่งชื่อ ลันได ทำนองจะเป็นพวกฮินดู ชาวอินเดีย ซัดเซพเนจร เข้ามาอาศัยอยู่ที่ใกล้โบสถ์พราหมณ์ ในกรุงเทพฯ เที่ยวสีซอขอทานเขาเลี้ยงชีพ พูดภาษาไทยก็มิใคร่ได้ หัดร้องเพลงขอทานได้เพียงว่า "สุวรรณหงส์ถูกหอกอย่าบอกใคร บอกใครก็บอกใคร" ร้องทวนอยู่แต่เท่านี้ แขกลันไดเที่ยวขอทาน จนคนรู้จักกันโดยมากในครั้งนั้น มีแขกอีกคน ๑ เรียกกันว่า แขกประดู่ ทำนองก็จะเป็นชาวอินเดีย เหมือนกัน ตั้งคอกเลียงวัวนม อยู่ที่หัวป้อม (อยู่ราวที่ สนามหน้าศาลสถิตยุติธรรม ทุกวันนี้) มีภรรยา เป็นหญิงแขกมลายู ซื่อประแดะ อยู่มาแขกลันได กับแขกประดู่ เกิดวิวาทกัน ด้วยเรื่องแย่งหญิงมลายูนั้น โดยทำนองที่กล่าวในเรื่องละคร คนทั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องขบขัน ก็โจษกันแพร่หลาย พระมหามนตรี (ทรัพย์) ทราบเรื่อง จึงคิดแต่งเป็นบทละครขึ้น
แต่หลายคนคงสงสัยว่า เรื่องนี้ สะท้อนภาพ อะไรของคนไร้บ้าน หรือผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ที่พยายามจะอธิบายก็คือว่า เรื่อง ระเด่นลันได นี้ชี้ให้เห็นว่า คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน หรือผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ นั้นมีมาตั้งแต่หลายยุคหลายสมัย ไม่ใช่พึ่งมีเหมือนที่หลาย ๆ คนในสังคมเข้าใจ และในนามของจดหมายเหตุนั้นชี้ว่ามันถูกเขียนออกมาจากเรื่องราวจริง ที่ผู้เขียนพยายามที่จะถ่ายทอดออกมา และอยู่ในละแวกเสาชิงช้า คอกวัว เรื่อยมาบริเวณนั้น มานานแสนนาน
“ระเด่นลันไดเที่ยวสีซอขอข้าวกินตามตลาดเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์ มีทหารหมาคอยเห่าหอนเฝ้ายามให้ พอโพล้เพล้ใกล้ค่ำก็สุมควันไล่ยุงแล้วนอนสูบกัญชาบนเสื่อลำแพนจนเมาพับ พอตะวันโด่งก็ตื่นขึ้นมาอาบน้ำล้างหน้าทาดินสอพอง สวมกางเกงขาดๆ สวมประคำดีควายสะพายยาม ถือกระบองกันหมาแล้วเที่ยวสีซอไปตามทางเหมือนอย่างเคย” ประโยคที่ถูกแปลตรงนี้ ก็ไม่ต่างจากวิถีชีวิต ของผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะเลยแม้ แต่น้อยอาบน้ำก็อาบน้ำในคลองกัน ส่วนใหญ่ หรือที่ใคร ๆ คุ้นเคย คือ คลองหลอด แม่น้ำเจ้าพระยา สมัยก่อนนั้นมีการสูบกัญชา แต่สมัยนี้คือการติดเหล้า ใส่เสื้อผ้าขาด ๆ มีถุงหรือกระเป๋ายาม ซึ่งภาพที่สะท้อนออกมานั้นก็ไม่แตกต่างจากยุคนี้ที่ผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะเป็นอยู่กัน
“สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
งามละม้ายคลายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย
จมูกละม้ายคล้านพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคีย
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
มันน่าเชยน่าชมนางเทวี ฯ”
ถ้าฟังจากการบรรยายถึงโฉมงามของนางประแดะ ที่นายประดู่ มองว่าสวยจับตาจับใจ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตคู่ ที่คนไร้บ้าน เห็นผู้หญิง หรือคนที่เลือกมาใช้ชีวิตคู่ใน ถนน หรือพื้นที่สาธารณะ ร่วมกันนั้น ก็ไม่แตกต่างจากนางประแดะ ที่สังคมมองว่าสกปรก หน้าตาดูไม่ได้ แต่เขามองว่าสวย ตัวอย่างเช่น ยายนาง ที่ตัวดำ อ้วนกลม ผมยุ้งเหยิง แต่ก็มีสามี ในพื้นที่ที่ตนออกมาใช้ชีวิต หรือเรียกอีกแบบคือ ผู้ชายที่ดูแลเขา ผ่านมาแล้ว 2 คน คนปัจจุบัน เป็นคนที่สาม ซึ่งวิถีชีวิตก็ไม่ได้แตกต่างกัน
เมื่อกล่าวถึงวรรณคดี เรื่องนี้แล้ว ณ ปัจจุบัน ไม่สามารถหาตอนจบได้ (แต่เสียดายอยู่ที่ บทตอนท้ายในเล่มนี้ ยังขาดฉบับเดิมอยู่ สักสามฤาสี่หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องที่ขาดเพียงใด) เมื่อเปรียบเทียบกับคนในสนามหลวง หรือผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ นั้น สุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรที่เป็นคำตอบในการแก้ปัญหา อย่างตายตัว แต่ละคน ก็แต่ละวิธี แต่ละคนก็มีแนวปัญหา หรือแนวทางที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในการทำงานที่อิสรชนกำลังทำอยู่นั้น ที่สังคมบางส่วนสงสัยว่าทำไมต้อง ใช้เวลานานถึง 2 ปี บางคนใช้เวลาแค่ 6 เดือน เพราะแต่ละคนมีปมปัญหา หรือปมในใจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะแก้คลิกของปมนั้นได้เร็วกว่ากัน เพราะฉะนั้น การทำงานที่สำคัญที่อิสรชนพยายามบอก ก็คือว่า คนเหล่านี้เขาต้องการแค่เพื่อน ที่พร้อมจะฟัง จะพูดคุย หรือมองเขาด้วยสายตาที่เขาเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่เหมือนกับเรา ๆ ทั่วไป อิสรชนบอกอาสาสมัครทุกคนว่าเราไม่ได้ลงมาสอนเขาแต่เราลงมาเพื่อเรียนรู้เขา เขาคือครูที่สามารถสอนอะไรเราได้มากมาย
ทำไมบางคนเจอปัญหาร้อยแปดพันเก้า ถูกทำให้สูญหายโดยพี่น้องของตนเองเพียงเพื่อการแย่งมรดกกัน หรือการไม่ยอมรับคนคนนี้เพียงเพราะว่าเขาขี้เมา คนคนนี้ต้องผ่านการล่วงละเมิดทางเพศ ถูกบังคับให้ขายบริการจนตนเองมีอาการทางประสาท ต่าง ๆ นานา ในแต่ละปัญหาของแต่ละคน ทำไมเขายังสู้อยู่ได้ละ แต่ในทางกลับกันทำไมสังคมมองว่าเขาขี้เกียจ คุณพิพากษาว่าเขาขี้เกียจซึ่งในความเป็นจริงคุณได้รู้หรือเปล่าว่าคนคนหนึ่งที่หลุดออกจากโลกของความเป็นจริงนั้นเขาพบเจออะไรมาบ้าง ถ้าเป็นคุณแล้วคุณจะเข้มแข็งและมีชีวิตอยู่ได้อย่างเขาหรือไม่ คุณจะดิ้นรนเช่นไรเมื่อมาอยู่ถนน และไม่มีเงินสักบาท ไม่มีอะไรติดตัวเลยสักสิ่งเดียว มีแค่ตัวเปล่า ๆ คุณจะใช้ชีวิตอย่างไรในถนน เพื่ออยู่ได้มานานถึง 30 ปี ในบางคน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สะท้อนว่าเขาไม่ได้ขี้เกียจอย่างที่เราเข้าใจ
หรือแม้แต่ตัวละครของระเด่นลันไดเอง ที่นายประดู่ เป็นชาวอินเดีย พูดไทยไม่ค่อยได้ ร้องได้เพียงประโยคเดียว แต่ก็ขอทานเลี้ยงชีวิตตนเองเพื่ออยู่รอด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรได้เรียนรู้และร่วมกันแก้ปัญหา คุณก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เพียงแค่มีใจอยากจะมาเรียนรู้ โดยไม่มีกรอบเกณฑ์ใด ๆ มาด้วยใจ มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับอิสรชนได้ที่ 086-628-2817 หรือ ใครสนใจบริจาคสนับสนุนกิจกรรมได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขบัญชี 031-0-03432-9 ค่ะ

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/



--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ระเบิดแบงก์กรุงเทพ : ทุนเก่า + อมาตย์ + (เหลือง = ชนชั้นกลางเก่า ?) VS ทุนใหม่ + (แดง = ชนชั้นกลางใหม่ ?)

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


ระเบิดแบงก์กรุงเทพ : ทุนเก่า + อมาตย์ + (เหลือง = ชนชั้นกลางเก่า ?) VS ทุนใหม่ + (แดง = ชนชั้นกลางใหม่ ?)


คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

โดย อภิชาต สถิตนิรามัย apichat@econ.tu.ac.th



ทำไม จึงมีระเบิดหน้าธนาคารกรุงเทพหลายลูกเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำไมไม่เป็นแบงก์อื่น ๆ แน่นอนว่าสิ่งนี้ต้องเชื่อมโยงกับการที่พลเอกเปรมเป็นประธานที่ปรึกษาของ ธนาคารกรุงเทพ และการประท้วงที่ถนนสีลมของกลุ่มคนเสื้อแดง ขอย้ำว่าประโยคนี้ไม่ได้เหมาว่าเสื้อแดงเป็นคนทำ แต่ไม่ว่าฝ่ายใดทำก็เป็นสิ่งที่ต้องประณามอย่างถึงที่สุดด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีเหตุผลใด ๆ พอเพียงสำหรับรองรับการใช้ลูกระเบิดเพื่อผลทางการเมืองทั้งนั้น แต่ประเด็นของผมคือ ธนาคารกรุงเทพนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนกลุ่มทุนเก่า (old money) ที่เติบใหญ่ขึ้นภายใต้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างชนชั้นนำทางการเมือง กับชนชั้นนำทางธุรกิจของการเมืองแบบอมาตยาธิปไตย (คำนี้แปลจากคำว่า Bureaucratic Polity ของ F. Riggs โดยพ่อตาของนายกฯอภิสิทธิ์) ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2500-2540

3 ตัวละครหลักของเศรษฐศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 40 ปีนี้ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ยุคทุนนิยมนายธนาคาร คือ หนึ่ง ชนชั้นนำทางอำนาจ นำโดยนายทหารในช่วงแรกและนักการเมืองจากการเลือกตั้งในช่วงหลัง ทำหน้าที่ปกครองเพื่อสร้างความสงบและเสถียรภาพทางการเมือง ภายใต้อุดมการณ์ราชาชาตินิยมและระบอบอมาตยาธิไตยเต็มใบ แล้วค่อย ๆ คลี่คลายกลายเป็นระบอบอมาตยาธิปไตยครึ่งใบ และระบอบประชาธิปไตยในช่วงหลัง
สอง กลุ่มเทคโนแครตนำโดย ธปท. ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย-บริหารเศรษฐกิจมหภาคและภาคการเงินการธนาคาร โดยเน้นเป้าหมายเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเพื่อสร้างบรรยายกาศที่เอื้ออำนวย แก่การสะสมทุนของภาคเอกชน สาม ชนชั้นนำทางธุรกิจนำโดยธนาคารกรุงเทพ ทำหน้าที่จัดสรรทุนและประสานการลงทุนในหมู่นักธุรกิจ ระบบนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมสลายจนสิ้นสุดลงในปี 2540

พันธมิตรสามเส้านี้ แม้ว่าจะร่วมมือกันขับเคลื่อนการสะสมทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมก็ตาม แต่ความสัมพันธ์กลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในระหว่างเทคโนแครตฝ่ายหนึ่ง กับแนวร่วมของผู้กุมอำนาจการเมืองกับนายแบงก์อีกฝ่ายหนึ่ง นายธนาคารมักยืมมือของผู้มีอำนาจมาวีโต้นโยบายของเทคโนแครตตลอดมา ในแง่นี้การที่กลุ่มทุนใช้อำนาจทางการเมืองผลักดันกฎหมายให้เอื้อประโยชน์ แก่ธุรกิจตนจึงมิใช่เรื่องใหม่ กลุ่มธุรกิจของทักษิณไม่ใช่กลุ่มแรกที่ทำเช่นนี้ สิ่งที่แตกต่างคือ นายธนาคารใหญ่ ๆ ไม่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีเอง กรณีตัวอย่าง 3 เรื่องข้างล่างนี้ก็คงมากเกินพอที่จะชี้ถึงการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อ เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้นายธนาคาร
หนึ่ง ธนาคารกรุงเทพจัดตั้งใน พ.ศ. 2487 และประสบกับวิกฤตในปี 2495 ดังนั้นจึงต้องปรับองค์กรขนานใหญ่ ซึ่งทำให้นายชิน โสภณพนิช กลายเป็นผู้จัดการใหญ่ นายชินมีสายสัมพันธ์อย่างดีกับสมาชิกคนสำคัญ ๆ ของกลุ่มซอยราชครู เช่น พลตรีศิริ สิริโยธิน ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ซึ่งเป็นลูกเขยอีกคนหนึ่งของจอมพลผิน สายสัมพันธ์ของนายชินนี้ก่อประโยชน์ให้แก่ธนาคารกรุงเทพเป็นอย่างมาก กล่าวคือธนาคารกรุงเทพเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 20 เป็น 50 ล้านบาท โดยเงินทุนใหม่จำนวน 30 ล้านนี้เป็นของกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งคิดเป็น 60% ของหุ้นทั้งหมดของธนาคาร การเข้าถือหุ้นของกระทรวงผ่านการวิ่งเต้นของนายชินนี้เองที่ทำให้พลตรีศิริ ได้ตำแหน่งประธานกรรมการ ในขณะที่พลตรีประมาณกลายเป็นกรรมการบริหารของธนาคารในปี 2496 เหตุการณ์นี้เป็นผลประโยชน์ร่วมระหว่างกลุ่มผิน-เผ่ากับธนาคารกรุงเทพ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์มีธนาคารแหลมทองอยู่ในเครือข่าย ดังนั้นกลุ่มผิน-เผ่าจึงต้องการธนาคารกรุงเทพมาเป็นพวก ส่วนธนาคารกรุงเทพนั้นก็ได้รับอภิสิทธิ์ในฐานะที่เป็นธนาคารร่วมทุนของรัฐ จึงได้ทำธุรกิจด้านการเงินกับภาครัฐ รวมถึงกิจการส่งออกข้าวที่ในขณะนั้นถูกควบคุมโดยรัฐด้วย ผลก็คือส่วนแบ่งการตลาดของธนาคารได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ 2 ปีต่อมาเมื่อธนาคารมีกำไรแล้วคณะรัฐมนตรีก็มีมติอนุมัติให้กระทรวงเศรษฐการ ขายหุ้นคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิมในราคา 15 ล้านบาท หนังสือพิมพ์สารเสรีในสายของจอมพลสฤษดิ์จึงกล่าวโจมตีว่ากลุ่มผิน-เผ่าปล้น เงินของรัฐ ดังนั้นภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2500 นายชินจึงต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ฮ่องกง ระหว่างนั้น พล.ต.ประภาส จารุเสถียร ทหารคนสำคัญของกลุ่มสฤษดิ์ก็มีบทบาทในการหนุนช่วยธนาคารกรุงเทพต่อมา โดยเป็นทั้งประธานธนาคาร (2500-2516) และผู้ถือหุ้นคนสำคัญ

สอง ในปี 2500 เมื่อเทคโนแครตต้องการร่างกฎหมายการธนาคารฉบับใหม่ขึ้นเพื่อควบคุมให้ระบบ ธนาคารมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งต่อมาจะกลายเป็น พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และประกาศใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 การที่กฎหมายฉบับนี้ใช้เวลาร่างถึง 5 ปีนั้นเป็นเพราะเทคโนแครตต้องเผชิญกับการต่อรองที่หนักหน่วงจากเหล่านาย ธนาคารจนถึงขั้นที่ร่างนี้ถูก "ทำแท้ง" โดยการถอนร่างออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 8 เมษายน 2502 นายโชติ คุณเกษม รัฐมนตรีคลัง ระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า เขาถอนร่างตามคำแนะนำของสมาคมนายธนาคารไทย และนายบุญชู โรจนเสถียร ซึ่งเป็นมือขวาของธนาคารให้สัมภาษณ์กับผมเมื่อปี 2541 ว่า "เรารู้ว่าคุณโชติเป็นคนสำคัญในการตัดสินใจ เนื่องจากแกเป็นคนใกล้ชิดกับจอมพลสฤษดิ์ ดังนั้นเราจึงเข้าหาแก...วัตถุประสงค์ของเราก็คือต้องการให้กฎหมายและข้อบังคับใหม่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเรา" ประเด็นหลักที่เป็นข้อขัดแย้ง คือ มาตรา 13 ของ พ.ร.บ. 2505 เรื่องการปล่อยกู้ให้ลูกค้ารายใหญ่ที่เทคโนแครตไม่ต้องการให้ธนาคารปล่อยกู้ แบบกระจุกตัวแก่ลูกค้ารายหนึ่ง ๆ มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อที่ผู้บริหาร/เจ้าของธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้อง (insider lending) ซึ่งทำกันมากในสมัยนั้น

สาม ในยุครัฐบาลพลเอกเปรมเมื่อถึงปี 2522 เริ่มมีปัญหาบริษัทเงินทุนล้มขึ้น เทคโนแครตจึงต้องการออกกฎหมายสถาบันประกันเงินฝากขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นให้แก่ผู้ฝากเงิน แต่ก็ถูก "ทำแท้ง" อีกครั้งโดยนายธนาคารผ่านการชี้แนะให้นายสมหมาย ฮุนตระกูล ถอนร่างกฎหมายนี้ออกจากการพิจารณาของรัฐสภาในปี 2524 ประเด็นสำคัญที่สุดในการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก คือ อำนาจของสถาบันประกันเงินฝากที่จะสั่งปลดผู้บริหารที่ทุจริต ถ่ายโอนธุรกิจหรือควบรวมกิจการของสถาบันการเงินที่ล้มเหลว ดังนั้นกว่าที่กฎหมายแบบนี้จะเกิดขึ้นจริงก็เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เอง

นอกจากนี้แล้ว พลเอกเปรมยังมีบุญคุณโดยตรงกับธนาคารกรุงเทพอีกด้วย ประมาณปี 2527 เมื่อธนาคารเอเชียทรัสต์ล้มลงจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดข่าวลือว่า ธนาคารกรุงเทพสาขาฮ่องกงขาดทุนหนักมาก ทำให้ผู้ฝากแห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคาร เมื่อนายกฯเปรมออกมายืนยันกับสาธารณชนว่า ฐานะทางการเงินของแบงก์กรุงเทพยังมั่นคงอยู่ ประชาชนจึงหยุดตื่นตระหนก ผมเข้าใจเอาเองว่าหลังจากนั้นตระกูลโสภณพนิช จึงสำนึกในบุญคุณของพลเอกเปรมมาตลอด ทำให้ไม่แปลกใจว่านายใหญ่ของธนาคารเป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะ 11 ด้วย

จาก 3 กรณีข้างต้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตของทุนธนาคารจึงเกิดขึ้นภายใต้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และการ อุปถัมภ์ของเหล่าอมาตย์มาตลอด จนกระทั่งตกเวทีทางประวัติศาสตร์ไปเมื่อวิกฤตการเงินปี 2540 ทำให้ทุนธนาคารสูญเสียฐานะครอบงำเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ทุนรุ่นใหม่ (new money) ในภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) เช่น กลุ่มธุรกิจของทักษิณและพวกพ้องก้าวขึ้นมามีฐานะครอบงำแทนในสังคมการเมืองไทย ในแง่นี้ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันจึงเป็นความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นนำ ระหว่างเครือข่ายทุนเก่า + อมาตย์ กับทุนใหม่ แต่สิ่งที่ปัจจุบันไม่เหมือนกับความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นนำครั้งก่อน ๆ คือ การเติบโตขึ้นของพลังทางสังคมกลุ่มใหม่ ๆ (เหลือง = ชนชั้นกลางเก่า ? VS แดง = ชนชั้นกลางใหม่ ?) ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชนชั้นนำ กลุ่มใหม่ ๆ เหล่านี้ไม่ยอมอยู่เฉย ๆ เหมือนเช่นอดีตอีกต่อไป แต่กลับออกมา "เลือกข้าง" ทั้งในทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี โดยหวังว่าฝ่ายที่ตนเลือกจะเป็นล้อเลื่อนสู่ทั้งผลประโยชน์ทางชนชั้นและจินตนาการทางการเมืองของกลุ่มตน

ผมไม่รู้ว่าความคิดคำนึงข้างต้นสอด คล้องกับ "ความเป็นจริง" ทางสังคมในปัจจุบันแค่ไหน แต่ผมแน่ใจว่ากลุ่มระเบิดข้างต้นจะไม่ใช่ระเบิดชุดสุดท้าย


หน้า 34
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02edi05110353&sectionid=0212&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

"สุรเธียร"รุกพลังงานทางเลือก ขายแฟรนไชส์โนว์ฮาวไบโอดีเซล

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


"สุรเธียร"รุกพลังงานทางเลือก ขายแฟรนไชส์โนว์ฮาวไบโอดีเซล




"สุรเธียร จักรธรานนท์" พลิกบทบาทจากมืออาชีพด้านอสังหาริมทรัพย์ สู่มือโปรด้านธุรกิจพลังงานทางเลือก ผุดโมเดลโรงงานไบโอดีเซลขนาดกลาง พร้อมขายโนว์ฮาวในแบบแฟรนไชส์ ลงทุน 40-50 ล้าน 3 ปีคืนทุน ชูจุดเด่นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยคนไทย ใช้ได้กับเครื่องจักรในโรงงานและรถยนต์ มั่นใจเป็นธุรกิจอินเทรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เผยมี อบต. ไทยและนักธุรกิจลาวสนใจขอซื้อ



นายสุรเธียร จักรธรานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท อี-เอสเทอร์ (กรุงเทพ) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากใช้เวลา 4-5 ปี คลุกคลีอยู่กับพลังงานทางเลือก และได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลรวม 2 แห่ง คือเชียงราย และแห่งที่ 2 ที่สามพราน นครปฐม ทำให้เข้าใจในธุรกิจนี้ลึกซึ้งขึ้น ส่วนเทคโนโลยีการผลิตพัฒนาดีขึ้นกว่าโรงงานแรก ช่วยลดต้นทุนทั้งการผลิต เครื่องจักร ระบบการบริหารจัดการ และการจัดหาวัตถุดิบ จนถึงขั้นที่ว่าถ้ามีหน่วยงานหรือองค์กรใดสนใจก้าวสู่ธุรกิจนี้ ตนก็พร้อมจะขายโนว์ฮาวในลักษณะขายแฟรนไชส์

โมเดลธุรกิจผลิตน้ำมันไบ โอดีเซลที่ทำอยู่จัดเป็นธุรกิจขนาดกลาง ใช้เงินลงทุน 40-50 ล้านบาท เป็นโมเดลที่สามารถทำเงินได้ใน 8 ปี แต่บริหารจัดการให้คืนทุนใน 3 ปี สำหรับกำลังการผลิตประมาณ 80,000 ลิตร/วัน ปัจจุบันโรงงานของบริษัทน่าจะเป็นแห่งแรก ๆ ที่มีศักยภาพการผลิตตามมาตรฐานของกระทรวงพลังงานสำหรับโรงงานขนาดกลาง จากก่อนหน้านี้จะมีแต่ ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เท่านั้น

นายสุรเธียร อธิบายว่า ตามคอนเซ็ปต์ของโรงงานที่วางไว้จะครอบคลุมพื้นที่ 3-4 จังหวัด ในด้านการรับซื้อวัตถุดิบและการตลาด เนื่องจากระบบการผลิตเป็นแบบ Dry Process จึงไม่จำเป็นต้องทำ EIA และ HIA ส่วน SIA ได้ใช้วิธีพา อบต. และตัวแทน ชาวบ้านไปดูงานที่เชียงราย และโรงงานที่นครปฐม จากนั้นจะประกาศหาตัวแทนจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีชาวบ้านทำธุรกิจรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากครัวเรือนอยู่ก่อน ซึ่งตอนนี้มี 30-40 ราย ที่เป็นตัวแทนในการจัดซื้อวัตถุดิบ ส่วนการขายจะใช้วิธีขายตรง ซึ่งตอนนี้มีทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบการขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยใช้กลยุทธ์ตั้งราคาต่ำกว่าน้ำมันไบโอดีเซลทั่วไป 1 บาท

"เราไม่ ได้ตั้งปั๊มเพื่อขายรีเทล แต่เราขายตรงเข้าโรงงานซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อเป็นลอตใหญ่ 4-5 พันลิตร บางรายมีรถมารับในโรงงาน บางรายเราก็มีรถขนส่งให้ ซึ่งปัจจุบันตลาดเริ่มเป็นที่ยอมรับ มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากราคาน้ำมันที่ถูกกว่าทั่วไป และคุณภาพน้ำมันที่สามารถใช้งานได้จริง และไม่เป็นปัญหากับเครื่องยนต์"

อดีตผู้บริหารธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์ยักษ์ใหญ่ (เอสซี แอสเสท) กล่าวว่า ตอนนี้บทบาทของตนได้หลุดจากมืออาชีพด้านอสังหาริมทรัพย์ มาสู่บทบาทของนักอุตสาหกรรมด้านพลังงานทางเลือกเต็มตัว หลังจากใช้เวลาคลุกคลีศึกษา 4-5 ปี และเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วได้เข้าสู่อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ โดยการลงทุนก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อดำเนินธุรกิจในเชิง พาณิชย์

นายสุรเธียรกล่าวว่า คอนเซ็ปต์ที่คิดไว้คือต้องการให้คนไทยเป็นเจ้าของเทคโนโลยี จึงเริ่มต้นจากงานวิจัย จากนั้นก็พัฒนาปรับปรุงมาเรื่อย ๆ ซึ่งยอมรับว่าไม่ง่าย ด้วยระบบในการผลิตที่ใช้คือ ระบบ Dry Process น้ำมันพืชที่ซื้อจากครัวเรือนจะผ่านขบวนการผลิตออกมาเป็นเนื้อน้ำมันเพื่อ ใช้งานทั้งหมด โดยไม่มีของเสียที่เหลือทิ้งให้เป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม

"หลังจากที่คลุกอยู่กับโรงงานผลิตไบโอดีเซล บทบาทบนเวทีสัมมนาของผมเปลี่ยนไป จากที่เคยได้รับเชิญไปพูดหัวข้อเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เวลานี้หัวข้อที่เชิญผมไปพูด ส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับพลังงานทดแทน รวมถึงการมีบทบาทเป็นคณะกรรมการ สวทช. เกี่ยวกับโครงการวิจัยด้านพลังงานทดแทนต่าง ๆ เปิดโรงงานที่ จ.เชียงราย เป็นสถานที่ดูงานให้กับหลาย ๆ องค์กรที่สนใจ ทำให้เวลานี้โรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้สร้างขึ้นนั้น ได้รับความสนใจทั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลาย ๆ แห่ง รวมถึงเอกชนประเทศลาวที่สนใจซื้อโนว์ฮาว" นายสุรเธียรกล่าว


หน้า 1
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0103110353&sectionid=0201&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

ตะลึง! ก.พลังงานดันนิวเคลียร์ 5 โรง ชงกพช.อนุมัติแผนPDPใหม่กำลังผลิต 54,000 MW

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


ตะลึง! ก.พลังงานดันนิวเคลียร์ 5 โรง ชงกพช.อนุมัติแผนPDPใหม่กำลังผลิต 54,000 MW





ก.พลังงาน เคาะแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับ 2553 ผุดกำลังผลิตใหม่ 54,625 แผน 20 ปี (53-73) ดันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง รวม 5,000 เมกะวัตต์ ใส่พานให้ กฟผ. ถ่านหินอัดเต็มที่ 13 โรง แต่ยังไม่รู้ใครสร้าง ระบุต้นทุน ต่ำที่สุด เตรียมเสนอ กพช.อนุมัติแผน PDP



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานภายหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศ พ.ศ. 2553-2573 หรือ PDP 2010 (Power Development Plan) ว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับใหม่ 2553 จะพิจารณาบนพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่ร้อยละ 4-4.3 (จากเดิมที่ประเมินไว้ร้อยละ 5-5.5) หรือเรียกว่ากรณีฐาน จะมีสัดส่วนโรงไฟฟ้าใหม่รวมกำลังผลิตติดตั้ง 54,625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้า 6 ประเภท ได้แก่ 1) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 5 โรง กำลังผลิตรวม 5,000 เมกะวัตต์ 2) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 20 โรง กำลังผลิตติดตั้ง 15,870 เมกะวัตต์

3) โรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 13 โรง กำลังผลิตติดตั้ง 10,000 เมกะวัตต์ 4) เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP ประเภท Co-Generation กำลังผลิตติดตั้ง 6,844 เมกะวัตต์ 5) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่เป็นของเอกชนและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวม 5,242 เมกะวัตต์ และ 6) รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศกำลังผลิต 11,669 เมกะวัตต์

เมื่อ เปรียบเทียบกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่างแผน PDP 2550 และแผน PDP 2553 จะพบว่ามีกำลังผลิตไฟฟ้าในช่วงสิ้นปี 2564 ลดลงถึง 4,175 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังผลิตติดตั้งรวมอยู่ 47,618 เมกะวัตต์ จากเดิมที่แผน PDP 2550 ที่มีกำลังผลิตติดตั้งรวมสูงถึง 51,792 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ สำหรับปริมาณสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin) ในช่วงต้นแผน PDP นี้ยังมีปริมาณที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 20-25 จนกระทั่งเมื่อถึงช่วงท้ายของแผน PDP 2553 จึงจะมีปริมาณสำรองไฟฟ้าอยู่ที่ร้อยละ 15 ทั้งนี้ สำหรับแผน PDP 2553 จะมีการลงทุนทั้งในระบบผลิตไฟฟ้าและระบบสายส่งอยู่ที่ 4.298 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ยังระบุถึงความจำเป็นที่ต้องเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินเข้ามาเพิ่ม ขึ้น เพราะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำที่สุด โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ จะมีต้นทุนอยู่ที่ 2.79 บาท/หน่วย ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 2.94 บาท/หน่วย ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Gas Existing) กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 3.96 บาท/หน่วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Marginal Gas) กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 4.34 บาท/หน่วย

ด้าน นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ของประเทศ จะนำเข้าในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในสัปดาห์นี้ โดยแผนดังกล่าวได้เพิ่มกำลังผลิตที่ มาจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ตามที่มีการเสนอมา ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามแผน พบว่าสัดส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมากขึ้นจากแผน เดิม สำหรับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างทั้งหมด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินขณะนี้เปิดกว้างเอาไว้ ยังไม่ได้สรุปว่าจะมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้า หรือให้ กฟผ.เป็นผู้รับผิดชอบในสัดส่วนอย่างไร

การรับซื้อไฟฟ้าที่มาจาก พลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่ากระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนบ้าง แต่ไม่มาก ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ จะเน้นที่รองรับเฉพาะถ่านหินสะอาด ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด


หน้า 5
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02inv01110353&sectionid=0203&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar