ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

นาโนเทค-ชีวภาพสาหร่าย-ข้อมูลบนมือถือ ทำนาย 3 นวัตกรรมใหม่...ร้อนแรงแห่งยุค

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11554 มติชนรายวัน


นาโนเทค-ชีวภาพสาหร่าย-ข้อมูลบนมือถือ ทำนาย 3 นวัตกรรมใหม่...ร้อนแรงแห่งยุค





นาโนเทค
บริษัท ทอมป์สัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) ทำการวิเคราะห์หานวัตกรรมใหม่ที่ร้อนแรงจากเอกสารสิทธิบัตรในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และสรุปคาดการณ์ว่า นวัตกรรมใหม่ ใน 3 หัวข้อ ได้แก่

1.เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย (Biofuels from Algae)

2.ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ (Cell Phone Data) + โครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Network Roaming)

3.นาโนเทคโนโลยี Lab-on-a-chip อุปกรณ์วินิจฉัยโรคแบบนาโนขนาดจิ๋ว

มี การเติบโตอย่างโดดเด่นมากในเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ โดยเฉพาะนวัตกรรมเรื่อง การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย

ใน ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย "พลาสติค" ไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับความสำเร็จ เชื่อมั่นอีกต่อไป เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินและรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคย เป็น ในขณะนี้โลกกำลังประสบภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เสาหลักของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สูญเสียความรุ่งโรจน์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง พวกเรากำลังเฝ้ามองดูว่านวัตกรรมสาขาใดที่จะเป็นแหล่งเพาะที่สามารถมากอบกู้ เศรษฐกิจ และจะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต

เพื่อหาคำตอบ เรื่องนี้ แผนก IP Solutions Business ของทอมป์สัน รอยเตอร์ส ได้ตรวจสอบหานวัตกรรมที่ร้อนแรงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ วิธีการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จากฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI sm) ซึ่งเป็นข้อมูล/บริการชุดหนึ่งของ ทอมป์สัน รอยเตอร์ส ทำการวิเคราะห์หากิจกรรมของสิทธิบัตรทั่วโลกในสาขา Biofuels, Telecom และ Bio-related nanotechnology นับจำนวนสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท คือ คำยื่นขอ และได้รับการคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาในปี 2003-2008 และมกราคม-มีนาคม 2009 จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลบนมือถือ


ขณะ นี้โลกกำลังแสวงหาพลังงานสะอาด (green energy) ซึ่งประกอบด้วยพลังงานตั้งแต่พลังงานลม (wind turbines) ไปจนถึงพลังงานไฮโดรเจน (hydrogen-powered vehicles) ส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) มีทั้งชนิดของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวต ซึ่งนักนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ความสนใจพัฒนา ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่หนึ่งทำมาจาก น้ำตาล แป้ง น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์

มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการดึงมาจากแหล่ง โซ่อาหารของมนุษย์ จึงมีการริเริ่มผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ถาวร ยั่งยืนมากขึ้นกว่าเดิม

เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 ตัวอย่างเช่น การใช้ของเสียที่ได้จากสิ่งมีชีวิตจากส่วนที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ลำต้น กิ่งก้านข้าวสาลี ซังข้าวโพด

สิ่งที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่ กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ อาจเรียกเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 3 คือการพัฒนาจาก สาหร่าย สาหร่ายถือเป็นสิ่งที่นำเข้าแบบชั้นต่ำ แต่ให้ผลผลิตสูง มีความสามารถในการผลิต เป็น 30 เท่าต่อเอเคอร์ เมื่อเทียบกับถั่วเหลือง ใครเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ และพวกเขากำลังทำอะไรอยู่

เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย


โดยการรวบรวมเกี่ยวกับฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI

DWPI คือฐานข้อมูลที่รวบรวมเอกสารสิทธิบัตรทั้งประเภทการยื่นขอ (Applications) และประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง (Grants) จากสำนักงานสิทธิบัตร 41 แห่งทั่วโลก รวบรวมและปรับปรุงเขียนใหม่ (Rewritten) ให้เป็นภาษาอังกฤษโดยกองบรรณาธิการของ DWPI จัดทำบทคัดย่อแบบสั้น มีการระบุให้ patent family (แสดงรายชื่อประเทศที่เอกสารสิทธิบัตร 1 เรื่องที่ทำการไปยื่นขอจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก) แสดงประเทศแรกที่ยื่นขอ และเรียงลำดับตามที่ยื่นขอในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงเป็น Equivalent patents ขณะนี้ DWPI มีเอกสารสิทธิบัตร 16 ล้านเรื่อง ที่มีความเหมือนกัน ราว 10 ล้านเรื่อง และมีการเพิ่มข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ใหม่ราวปีละ 1 ล้านเรื่อง Basic Format ของฐานข้อมูล DWPI ได้แก่ บรรณานุกรมเอกสารสิทธิบัตร บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) Manual code Special Indexing ประกอบด้วย คิดค้นระบบรหัสการจัดหมวดหมู่เอกสารสิทธิบัตรของตนเอง รหัสบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แบบเป็นมาตรฐาน

ทอมป์สัน รอยเตอร์ส เสนอข้อสังเกตจากการวิเคราะห์

1.นวัต กรรมเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2003 ด้วยการวัดปริมาณจำนวนเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก จากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index พบมีจำนวนน้อยเพียง 341 เรื่อง ถือเป็นสาขาวิจัยพัฒนาขนาดเล็ก และมีผู้นำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70 และเป็นสิทธิบัตรที่ขอยื่นในประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 31

2.ในปี 2008 - 5 ปีต่อมา พบว่ากิจกรรมสิทธิบัตรในเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 550 คิดเป็นจำนวน 1,878 เรื่อง

3.ใน ช่วงระยะเวลาล่าสุด (มกราคม 2008-เมษายน 2009) จำนวนสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมีเพิ่มขึ้นเป็น 2,466 เรื่อง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มก้าวเข้ามาในเรื่องนี้ คิดเป็นร้อยละ 31 ที่ทำการยื่นขอในประเทศจีน บริษัทจีนมีส่วนแบ่งในตำเหน่งผู้นำ 10 อันดับแรกพร้อมกันกับบริษัทญี่ปุ่น

4.มีข้อถกเถียงกันอย่างมากใน สื่อต่างๆ เกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม แง่ผลกระทบที่มีการนำพืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกที่เป็นอาหารมนุษย์มาผลิต เป็นพลังงานชีวภาพ

5.ในช่วงปี 2008-2009 บริษัทผู้นำ 11 บริษัท มีการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย เป็นหลัก โดยเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา 8 ใน 11 บริษัทนั้น

ที่เหลือได้แก่ บริษัทจาก บราซิล สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โดยที่บริษัทจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ปรากฏอยู่ในรายการบริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก

หน้า 26

มาบตาพุดกับรางวัลโนเบล! โดย อภิชาต ทองอยู่ สถาบันผู้ประกอบการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) ม.กรุงเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11554 มติชนรายวัน


มาบตาพุดกับรางวัลโนเบล!


โดย อภิชาต ทองอยู่ สถาบันผู้ประกอบการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) ม.กรุงเทพ




ร้อน แรงพอควรสำหรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้ ที่นักวิชาการสตรี สาขารัฐศาสตร์ เอลินอร์ ออสทรอม คว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ไปได้ นับเป็นสตรีคนแรกในรอบ 40 ปีที่ได้ครอบครองรางวัลนี้ แถมตัวเธอเองยังไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์โดยตรงอีกด้วย

ทำให้นึก ถึงนักวิชาการเศรษฐศาสตร์สตรีไทยหลายคน เช่น อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์นวลน้อย ตรีรัตน์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬาฯทั้ง 2 ท่าน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่มสตรีหันมาสนใจเศรษฐศาสตร์ การเมืองกันมากขึ้น

เอลินอร์ ออสทรอม มีผลงานในการสร้างงานด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาล" (economic governance) ที่ว่าด้วย "สมบัติของส่วนรวม" (the commons) มาอย่างต่อเนื่อง แม้จะถ่อมตัวว่าเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยเล็กๆ ประจำเมืองแต่ผลงานของเธอไม่ธรรมดาเพราะมีรางวัลโนเบลเป็นหลักประกัน

ผล งานการศึกษาเรื่องการจัดการทรัพย์สินสาธารณะ (common property) ด้วยการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วม (common ownership) เป็นงานที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลในการคงสถานะและคุณภาพทรัพยากรที่มี ประสิทธิภาพ ด้วยการดูแลรักษาแบบถือครองร่วมกัน ซึ่งแม้การจัดการแบบนี้จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปอย่างที่เธอบอก แต่การดูแลและการครอบครองร่วมกัน การจัดการอย่างเป็นระบบก็ช่วยให้วงจรของการถูกนำมาใช้ของทรัพยากร การฟื้นตัวของสิ่งแวดล้อม มีทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

การศึกษาของ เอลินอร์ ศึกษาจากกลุ่มท้องถิ่นขนาดเล็กและขนาดกลาง ในเรื่องการดูแลทรัพยากรร่วมกันในระบบชลประทานที่ชาวบ้านในเนปาลจัดทำกันเอง นับร้อยกลุ่ม และจากกลุ่มชาวประมงกุ้งในทะเลใหญ่ในมลรัฐเมน

ผลการ ศึกษาพบว่าการธรรมาภิบาลทรัพยากรในแนวทางนี้มีประสิทธิภาพสูง มีต้นทุนต่ำ ซึ่งเธอให้สัมภาษณ์ว่าผลจากการศึกษาที่ได้คงไม่ใช่สูตรสำเร็จแบบครอบจักรวาล ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกที่ ทุกกลุ่ม หรือเป็นบทสรุปที่ต้องปล่อยให้ชาวบ้านไปจัดทำกันเองไปแต่ลำพัง

เพราะเรื่องเหล่านี้มีปัจจัย เงื่อนไข และสถานการณ์หลากหลายที่เป็นองค์ประกอบต้องนำมาพิจารณา

การ ให้คุณค่าในเรื่องธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่อง ที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลให้ความสนใจ เรื่องนี้น่าจะนำมาช่วยพิจารณาปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุดได้ อย่างดี จากการที่ศาลฯได้สั่งหยุด 76 โครงการน่าจะเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นภาพความเป็นจริงที่น่าวิตกในการ จัดการเศรษฐกิจ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในสังคมบ้านเราอย่างยิ่ง ซึ่งกรณีนี้มีข้อควรพิจารณาถึงมูลเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นโดยสรุปบางประการ กล่าวคือ

ประการแรก พื้นฐานการก่อร่างสร้างตัวที่มาบตาพุด (ตั้งแต่เริ่มโครงการในต้นทศวรรษพุทธศักราช 2520) นับตั้งแต่ที่รัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาเขต อุตสาหกรรมของประเทศ รัฐได้ให้ความสำคัญเฉพาะกับมิติเศรษฐกิจเป็นหลักโดยยึดแนวคิดการพัฒนาที่ เดินตามวาทกรรมทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งหมกมุ่นอยู่กับการสร้างผลกำไรในการลงทุนมิติเดียวโดดๆ

แนวทาง เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาลแบบเอลินอร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลปีนี้เป็นเรื่องที่ ไม่ถูกพูดถึงตั้งแต่เริ่มโครงการ ผลกระทบทั้งหลายไม่ว่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นที่มาบตาพุด จึงเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางสังคมตลอดมา

มาบตาพุดจึงกลาย เป็นมหากาพย์อภิตำนานความขัดแย้งที่คนท้องถิ่นลุกขึ้นมาต่อต้านความหิว กระหายความมั่งคั่งอย่างไม่ลืมหูลืมตาของกลุ่มอุตสาหกรรมมาต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันนี้

ประการที่สอง เป็นประเด็นเรื่องขององค์ความรู้กับความอ่อนแอของการบังคับใช้กฎหมายที่ เกี่ยวกับการนำใช้ทรัพยากร และการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตอุตสาหกรรม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องการประสบการณ์และการเรียนรู้ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาที่ใช้เวลาและความทุ่มเทมาก

ซึ่งในขบวนการ การเติบโตของอุตสาหกรรมเขตมาบตาพุด ได้มีการอาศัยช่องว่างของการขาดองค์ความรู้และจุดอ่อนในการบริหารจัดการทาง กฎหมายมาเป็นปัจจัยในการ "ลดต้นทุน" ของการเติบโตดังกล่าว โดยที่ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ถูกโยนให้เป็นภาระของท้องถิ่นและสังคมที่ต้องร่วมรับผิดชอบกันเอง

ประกอบ กับสังคมไทยมีพื้นฐานแบบสังคมอุปถัมภ์ การต่อสายตรงกับราชการที่มีอำนาจในการจัดการ และอำนาจทางการเมืองของผู้ประกอบการย่อมคุ้มทุนกว่า และในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะมีพลังมากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย

ผู้ ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมจึงมักต่อสายตรงกับอำนาจ มากกว่าจะยอมทำตามกฎหมาย ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหลายกรณีรวมทั้งการจัดการอุตสาหกรรมทีพีไอในพื้นที่ ใกล้ๆ มาบตาพุดด้วย

หรือมิฉะนั้นก็ยอมทำกันตามกฎเพียงให้ครบองค์ประกอบของพิธีกรรม เช่น การทำ EIA เป็นต้น

ซึ่ง เมื่อผ่านการกลั่นกรอง (ที่ต้องถามหามาตรฐานและมาตรการในการทำงานใหม่ทั้งระบบ) ก็ใช้นำไปอ้างเป็นความชอบธรรมได้ การบริหารจัดการภายใต้ระบบอุปถัมภ์เช่นว่านี้ สะท้อนถึงความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมายและการขาดความรับผิดชอบของผู้ ประกอบการจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ก่อผลเสียหายอย่างมากต่อการลงทุน

และส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบ มีธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจอย่างน่าวิตก

ประการ ที่สาม ภาพรวมทางจิตวิทยาสังคม ที่เป็นประเด็นความคิดในการพัฒนาประเทศมักมีการสร้างกระแสให้ผู้คนในสังคม ตื่นตูม ให้ความสำคัญกับตัวเลขการเติบโตแบบคณิตศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งในรูปของจีดีพี ยิ่งมากยิ่งน่าตื่นเต้น (เหมือนกับที่สังคมให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ใบปริญญามากกว่าให้ความสำคัญ ในความรู้ความสามารถ)

ด้วยเหตุนี้สิทธิและการยอมรับทางสังคมจึง เปิดทางให้กับตัวเลขการลงทุน และการสร้างผลกำไรเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นจะไปหล่นอยู่ในกระเป๋าใครบ้าง ความสนใจเรื่องคุณภาพชีวิต การกระจายรายได้ และความรับผิดชอบร่วมในการพัฒนาประเทศ จึงถูกกลืนหายไปกับวาทกรรมตัวเลขทางเศรษฐกิจ

หรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องน่ารำคาญหากจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณากัน!

ด้วย กระแสความรู้สึกเช่นนี้ตัวเลขของมูลค่าการลงทุน 2 แสนล้านจึงถูกให้สำคัญมากกว่ามูลค่าความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมและชี วพันธุ์ 5 แสนล้านฯ เป็นต้น

คุณค่าของชีวิต และคุณภาพสังคม จึงถูกกำหนดอยู่บนฐานการขับเคลื่อนด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

สภาวะ เช่นนี้กลุ่มคนท้องถิ่นและคนพื้นบ้าน โดยเฉพาะชาวบ้านซึ่งเคยมีพื้นที่ร่วมอยู่ในศูนย์กลางสังคมและเศรษฐกิจที่มาบ ตาพุดจึงถูกทำให้กลายเป็นคนชายขอบไปโดยปริยายเมื่ออาณาบริเวณดังกล่าวถูก กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม!

การบริหารจัดการที่ขาดการพิจารณาถึง องค์ประกอบแวดล้อมที่เป็นจริงอาศัยแต่จิตวิทยาสังคมมิติเดียวที่ห่อเหี่ยว จึงเป็นปัจจัยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งขึ้นต่อเนื่องเรื่อยมาอย่าง ไม่อาจปฏิเสธได้

จากประเด็นหลักโดยสรุปที่กล่าวมานี้ สามารถขยายเป็นประเด็นยิบย่อยได้อีกมาก ในกรณีนี้หากต้องการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่มาบตาพุดอย่างจริงจัง หลักการทางปฏิบัติเบื้องแรกคงต้องหาข้อยุติที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน

ซึ่งข้อยุติที่เกิดขึ้นและยอมรับกันได้ทุกฝ่ายคงต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและความเป็นธรรม

ใน ที่นี้คือการยุติหลักการความขัดแย้งระหว่างแนวทางทุนนิยมอุตสาหกรรม กับความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และสมรรถนะการแบกภาระการฟื้นฟูตัวเองของธรรมชาติ (carrying capacity) ในเขตมาบตาพุดเป็นหลัก

ซึ่งการจะก้าวไปถึงจุดนี้ได้คงต้องศึกษางาน ของผู้ได้รางวัลโนเบลปีนี้ที่ว่าด้วย "เศรษฐศาสตร์ธรรมาภิบาล" (economic governance) และการจัดการในลักษณะการครอบครองร่วม (common ownership)

ซึ่งกรณีมาบตาพุดเป็นกรณีที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับหลายๆ ฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย

ซึ่ง การแก้ไขที่ยืนหยัดอยู่บนหลักการที่ยอมรับสภาพความจริงและให้ความเป็นธรรม กับทุกฝ่ายเท่านั้น จะเปิดทางสู่การสร้างผลประโยชน์และการพัฒนาร่วมกันได้ รางวัลโนเบลกับมาบตาพุดจึงมีเส้นทางที่วกมาเชื่อมต่อกันด้วยความบังเอิญ!

การ ลงทุนที่ตั้งอยู่บนฐานคติที่ละเลยความเป็นจริงทางด้านคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม และธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจ กำลังจะกลายเป็นอาชญากรรมของโลกยุคใหม่ ที่กำลังก้าวเข้าสู่ความอยู่รอดและความมั่งคั่งแบบใหม่ด้วยการขับเคลื่อน ของกลุ่ม "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" และ "เศรษฐกิจฐานความรู้" ในเวลาอีกไม่นานนัก


หน้า 6

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อย่าให้ “เคอิโงะ” เป็นเพียงแค่สินค้าที่ขายได้


อย่าให้

ดู ข่าวที่น้องเคอิโงะ ซาโตะ เด็กชายวัยประถมฯ ที่เรียนหนังสืออยู่ที่พิจิตร ตามหาพ่อที่ชื่อคัทซูมิซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น วันก่อนโน้นน้องเคอิโงะเริงร่าขึ้นมา เมื่อคุณพ่อนั่งเครื่องบินจากญี่ปุ่น มาแลนดิ้งที่สุวรรณภูมิบ้านเรา

ในแง่มุมหนึ่ง ออกจะชื่นชมสื่อมวลชนแทบจะทุกแขนงก็ว่าได้ ที่ติดตามทำข่าวน้องเคอิโงะ จนสามารถทำให้ความฝันของเด็กชายบ้านนอกตัวเล็กๆ ได้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงก็ตาม

แต่พักหลังๆ ผมคิดไปว่ามันจะชักจะ "เกินไป" หน่อยไหม...

แม้ สื่อมวลชนต้องการติดตามความคืบหน้าของเคอิโงะ แต่ภาพที่ออกมาไม่เหมาะสมด้วยการนำเสนอข่าวแบบเกาะติด ยิ่งกว่าเห็นเขาทั้งสองเหมือนดาราดัง ทั้งๆ ที่คนเป็นพ่อต้องการแสดงความเป็นส่วนตัว ตามประสาปุถุชนทั่วไป

ผมเห็น สื่อมวลชนเกาะติดตั้งแต่ทั้งคู่นอนพักที่โรงแรม พาลูกไปเล่นน้ำที่สวนสยาม กลับมาเยี่ยมบ้านแม่ที่พิจิตร ไหว้กระดูกมารดา แม้กระทั่งเข้าไปทำธุระเรื่องการเลี้ยงดูที่อำเภอ ผมว่ามันคลับคล้ายคลับคลาว่า นี่มันหนังเรื่อง "เดอะทรูแมน โชว์" นี่หว่าเนี่ย

จากที่เคยสงสาร ผมว่ากลับยิ่งสะอิดสะเอียน  เหมือนน้องเค้าเป็นเทวดาชั้นใด หรือสามล้อถูกหวยงวดไหน?

ผม ไม่ได้ว่าน้องเคอิโงะ ไม่ได้ว่าพ่อที่ขาดการติดต่อกับลูก เพราะเป็นเรื่องของครอบครัว หากแต่ว่าการนำเสนอเรื่องนี้ ในเมื่อพ่อลูกได้เจอกันที่สนามบิน มันน่าจะจบลงแค่นี้แล้วไม่ใช่หรือ ถือว่าสื่อพาน้องเค้าไปสู่ความฝันได้ยังนับว่าโอเคแล้ว

ส่วนความ ช่วยเหลือใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ห้องพักฟรี ให้เสื้อผ้าฟรี ให้บัตรเที่ยวสวนน้ำ 10 ปี ก็น่าจะเป็นการให้โดยเสน่หา โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้สื่อบอกกับคนซื้อหนังสือพิมพ์หรือคนดูข่าวในโทรทัศน์ ทุกเรื่อง เหมือนเป็นการโฆษณาแฝงไปในตัว

อีกอย่างที่น่าตำหนิก็คือ การที่ผู้ใหญ่บางคนเอาผ้าขาวบริสุทธิ์ของน้องมาล้างน้ำแล้วย้อมสี ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนตีแผ่ชีวิต หรือแม้กระทั่งการออกเทป นี่ดีไม่ดีถ้าผู้ใหญ่ในพิจิตรบ้าจี้มากกว่านี้ คงเอาน้องเคอิโงะมาตั้งชื่อถนนแล้วขอยศร้อยตรีให้ฟรีๆ

โอเค ถึงแม้ว่าจะเป็นการตีแผ่ชีวิตจริง แต่ผมไม่เชื่อหรอกว่าการที่เอาน้องเคอิโงะมาต่อยอดเช่นนี้ จะทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงร้อยเปอร์เซ็นต์ และหากเป็นเช่นนี้ มันจะกลายเป็นการปลูกฝังค่านิยมในตัวน้องและเด็กคนอื่นๆ ให้เป็นคนที่จะเอาอะไรก็ได้ในอนาคต

แค่โวยวายให้เป็นข่าว "หน้าหนึ่งไทยรัฐ-ข่าวสด" ก็ได้ตามต้องการแล้ว

เพราะ ฉะนั้น ในเมื่อผมเห็นว่าเด็กยังอ่อนต่อโลกเกินไปที่ผู้ปกครองจะปล่อยวาง ขอให้น้องเคอิโงะเป็นเพียงความทรงจำน่ารักๆ ครั้งหนึ่งที่ได้ตามหาพ่อ เหมือนกับที่เราดูรายการทีวีอย่างเช่น ฝันที่เป็นจริงเมื่อสิบปีก่อน หรือรายการวันนี้ที่รอคอย

มากกว่าที่จะเอาความเป็นข่าวมาเป็นจุดขายเพื่อหากินกับเด็กครับ

ป.ล. หมีแพนด้าก็ไปแล้ว เคอิโงะก็ไปแล้ว น้องหม่องก็ไปแล้ว ต่อไปจะขายอะไรอีก... เอา "น้องแน็ต-เกศริน" มาจับล้างน้ำใหม่ดีไหม?

http://www.talkystory.com/site/article.php?id=8465
--
      Weblink
seminar
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://seminarmon.blogspot.com
http://seminartue.blogspot.com
http://seminarwed.blogspot.com
http://seminarthu.blogspot.com
http://seminarfri.blogspot.com
http://seminarsat.blogspot.com
http://seminar1951.blogspot.com
http://seminardd.com
www.ipthailand.org

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

มายาคติว่าด้วยจีดีพี

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11512 มติชนรายวัน


มายาคติว่าด้วยจีดีพี


คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ

โดย มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




เมื่อ ประมาณเดือนที่แล้วได้มีนักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลมาเยือนประเทศไทย และได้มาชี้ให้เห็นว่า จีดีพี หรือที่เรารู้จักกันดีในฐานะเครื่องวัดสถานภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาจากคำว่า Gross Domestic Product (GDP) หรือคำว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไม่ใช่เครื่องชี้วัดที่ดีของความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

เรื่องที่ โจเซฟ สติกลิตซ์ พูดไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นายสติกลิตซ์ได้เปรียบตรงที่ว่า เป็น "คนใน" คือเคยเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ฉะนั้น หากนายสติกลิตซ์โจมตีอะไรที่เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ก็น่าที่จะเป็นที่น่า เชื่อถือได้มากกว่าการโจมตีของนักสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เป็น "คนนอก"

อีก ทั้งนายสติกลิตซ์ยังสามารถยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การที่ประเทศสร้างคุกมากขึ้นทำให้ตัวเลขจีดีพีสูงขึ้น แต่ไม่ได้หมายความประเทศอยู่ดีมีสุขขึ้น อาจเป็นเพราะสังคมมีอาชญากรรมมากขึ้น

ปัญหาของจีดีพีที่ไม่สามารถวัด ความอยู่ดีมีสุขเป็นประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์รู้ซึ้งมานานแล้ว เพราะจีดีพีหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเป็นการวัดมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น ในประเทศ ไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นไทยหรือเทศ และไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้บริโภคผลผลิตนั้น ซึ่งในแง่ของสวัสดิการผู้ผลิตอาจจะเป็นบริษัททีมชาติที่ขอยืมฐานผลิตใน ประเทศไทย แล้วส่งรายได้ที่ได้จากการผลิตกลับไปประเทศของตน ตัววัดที่ดีกว่าน่าจะเป็นรายได้ประชาชาติ หรือ National Income ซึ่งหักเอารายได้ที่ได้ส่งไปยังประเทศอื่นๆ ออกแล้ว

ถึงกระนั้นจีดีพีก็ยังมีปัญหาอยู่อีกมากโดยเฉพาะสำหรับนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพราะสาเหตุอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1) จีดีพีละเลยเกี่ยวกับการขาดแคลนและความร่อยหรอลงของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นอันตรายต่อความยั่งยืนของการพัฒนา ประเทศที่เร่งรัดเอาทรัพยากรมาใช้อย่างหักโหมอาจมีจีดีพีที่สูง ทั้งๆ ที่ได้ใช้ทรัพยากรเกินกว่ากำลังผลิตตามธรรมชาติทำให้ทรัพยากรธรรมชาติไม่ เหลือไปถึงลูกหลาน

2) จีดีพีไม่คำนึงถึงการเสื่อมของสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เช่น ปัญหาหมอกควันมลพิษอาจเป็นสาเหตุของการก่อโรคมะเร็ง

และ 3) แทนที่การบำบัดน้ำเสียของรัฐจะถูกหักออกจากจีดีพี การก่อสร้างสถานบำบัดน้ำเสีย และการดำเนินการกลายเป็นตัวเลขที่นำไปบวกกับจีดีพี ทั้งๆ ที่รายจ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันมิให้คุณภาพชีวิตเลวลง

นัก เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้พยายามแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาตลอดเวลา แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนกระแสความคิดใหม่กระตุ้นให้เกิดความคิดว่า การจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ (หรือการคิดจีดีพี) ที่ถูกต้อง สมควรที่จะคำนึงถึงความร่อยหรอของทุนทรัพยากรธรรมชาติและความเสื่อมโทรมสิ่ง แวดล้อมด้วย ซึ่งสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุน ในขณะนี้ความก้าวหน้าถึงขั้นสร้างกรอบความคิดใหม่ เรียกว่า SEEA (System for Integrated Environment and Economic Accounting) แต่ทั้งนี้การทำบัญชีรายได้ประชาชาติเป็นเรื่องภายในของแต่ละประเทศว่าจะ ดำเนินการอย่างไร

ในกลุ่มประเทศตะวันตกมีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก เช่น สวีเดน นอร์เวย์ ฝรั่งเศส ได้ริเริ่มจัดทำบัญชีประชาชาติที่คำนึงถึงความสึกหรอของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไป กับการคิดจีดีพีแบบดั้งเดิม

ในแถบประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็มีความก้าวหน้าไประดับหนึ่งแล้วเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

กระบวนการนี้ได้ดำเนินการมากว่าทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังไม่มีระบบที่เป็นสากล และได้รับการยอมรับเข้ามาแทนจีดีพีได้

จุด อ่อนที่สำคัญอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับจีดีพีและรายได้ประชาชาติ ก็คือทั้งคู่เป็นค่าเฉลี่ย ประเทศที่มีแต่คนจนมากๆ กับคนรวยมากๆ อาจมีจีดีพีใกล้เคียงประเทศที่มีคนที่มีรายได้ไม่แตกต่างกันนัก เพราะค่าเฉลี่ยใกล้กัน ประเทศหลังที่ประชากรที่มีรายได้ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกันมากกว่าน่าจะเป็น ประเทศที่น่าอยู่มากกว่า

จีดีพีที่เห็นจึงอาจเป็นเพียงภาพมายา ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงหาวิธีแก้ปัญหานี้โดยใช้ดัชนีการกระจายรายได้ เช่น ดัชนีจินี และต่อมาก็ได้หาดัชนีความยากจน ซึ่งโดยทั่วไปก็จะใช้จำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน เส้นความยากจนนี้เป็นรายได้ต่ำสุดซึ่งประชากรในประเทศนั้น วัดจากการบริโภคขั้นต่ำสุดที่จะประคองชีวิตอยู่ได้ เส้นแห่งความยากจนนี้จะแตกต่างกันไปตามประเทศและตามวัฒนธรรม

ข้อดีของเส้นความยากจน ก็คือสนใจกับคนชายขอบและคนตกขอบ ไม่ดูค่าเฉลี่ย แต่ดูจำนวนคนที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

นอก จากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังพยายามที่จะแก้ไขจุดอ่อนอื่นๆ ของจีดีพี เช่น การไม่รวมเอาการทำงานของแม่บ้าน ฯลฯ ทำให้เกิดดัชนีใหม่ๆ ขึ้นมากมาย

แต่ก็ยังไม่มีอะไรเป็นที่ยอมรับเท่าจีดีพี เพราะเป็นตัวชี้วัดที่มีการเก็บข้อมูลเป็นระบบที่สุด

สติ กลิตซ์เสนอว่า ถ้าอยากได้ดัชนีอยู่ดีมีสุขก็ให้คิดดูว่าอะไรเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับชีวิต คนไทย แล้วหาตัวชี้วัดนั้นๆ มาเพิ่มเติม เช่น ถ้าคิดว่าความยุติธรรมสำคัญก็ควานหาตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนความยุติธรรม ถ้าการไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงสำคัญก็หาตัวชี้วัดนั้นๆ แทนที่จะพยายามโจมตีข้อด้อยของจีดีพี ซึ่งก็เหมือนบ่นว่าทำไมแกงจืดมันไม่เผ็ด ถึงอย่างไรก็ไม่มีใครทิ้งจีดีพีได้ เพราะกว่าจะได้ชุดข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ทั่วโลกก็เลือดตาแทบกระเด็น จีดีพีก็คงยังเป็นตัววัดขนาดเศรษฐกิจของประเทศต่อไป เพียงแต่ไม่ใช่จีดีพีเป็นตัวชี้วัดเดียวเท่านั้น ที่สำคัญก็คือต้องมารวมหัวกันคิดก่อนว่าอะไรสำคัญ แล้วใช้ตัวชี้วัดเหล่านั้นมาเติมเต็มจุดอ่อนของจีดีพี

การที่จะทำโพ ลเพื่อถามว่าคุณมีความสุขเท่าไหร่ ก็มีปัญหาว่าเป็นอะไรที่ขึ้นอยู่กับวันเวลา และตัวบุคคลที่ตอบมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น หากเช้านั้นทะเลาะกับแฟน ความสุขก็อาจจะลดลง แต่ไม่เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขที่ควรใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ

การ หาตัวชี้วัดใหม่จะไม่ง่ายนัก เพราะนอกจากจะต้องการปัญญาดีๆ และหัวใจที่อยู่ถูกที่ถูกทางแล้ว ยังต้องการการลงทุนอีกด้วย เพราะสถิติด้านสังคมจำนวนมากไม่มีการเก็บอย่างเป็นระบบ และที่มีอยู่แล้วอาจจะพบว่ามีแนวโน้มไปในทางเดียวกับจีดีพี

อย่าง เช่น สถิติที่สำคัญมาก ได้แก่ อัตราตายของทารก สถิติด้านการศึกษา เช่น จำนวนผู้จบมัธยมที่เรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือสถิติที่มีก็ไม่สะท้อนคุณภาพ เช่น ร้อยละของจำนวนคดีที่ศาลตัดสินเทียบกับจำนวนคดีที่เข้าสู่ศาล หรือดัชนีการศึกษา เช่น ร้อยละของการได้รับการพยาบาล และการศึกษาฟรี ก็ไม่ได้รับประกันคุณภาพที่ประชาชนได้รับ

มาถึงตรงนี้ คงไม่ใช่ปัญหาของนักเศรษฐศาสตร์แต่ฝ่ายเดียวแล้ว คงต้องอาศัยนักสังคมศาสตร์ไปร่วมกันคิดกับนักสถิติอีกด้วย ในที่สุดก็อาจจะพบว่า สถิติทางสังคมที่สำคัญก็มักจะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับจีดีพีอยู่ดี หรือท้ายที่สุดอาจจะต้องหาวิธีที่ไม่อิงกับสถิติมากเกินไป

จะใช้วิธีไหนก็ไม่ง่ายนักหรอก จะบอกให้!!


หน้า 6

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย



 
จาก: pu Nichapath <usanee3760@gmail.com>
วันที่: สิงหาคม 29, 2009 1:25 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: : ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
ถึง:


 
จาก: seree juiprik <sjuiprik@gmail.com>
วันที่: สิงหาคม 27, 2009 5:55 ก่อนเที่ยง
หัวเรื่อง:  ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
ถึง: 


จาก: นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ <jantana_ket@hotmail.com>
วันที่: สิงหาคม 22, 2009 7:34 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
ถึง:



 

From: kruing05@hotmail.com
To: 
Subject:: ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
Date: Wed, 19 Aug 2009 16:58:34 +0700


 

From: chunggis@hotmail.com
To: 
Subject: ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
Date: Wed, 19 Aug 2009 12:53:51 +0700


 

Date: Tue, 18 Aug 2009 20:43:15 +0700
Subject:  ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
From: saiyud1438@gmail.com
To:


 
จาก: komsun jitsomboon <komsunj@gmail.com>
วันที่: สิงหาคม 4, 2009 3:11 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย
ถึง: 








  
ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ...... ถ้ายังเป็นคนไทยอยู่ช่วยอ่านด้วย

เรื่องนี้คนไทยทุกคนควรที่จะได้รู้ ...... ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้มีเกิด มีดับ ตลอดเวลา ...... ประเทศไทยก็ไม่พ้นวิถีนี้เช่นกัน
สืบเนื่องจากการบรรยายของคุณนิติภูมิ ซึ่งเป็นสื่อมวลชน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโค
ซึ่งเป็นสถาบันที่สตาลินสร้างขึ้นเพื่อสร้างภูมิปัญญาหวังครองโลกในสมัยหนึ่ง
เมื่อหลายปีก่อนคุณนิติภูมิ ได้ทำนายไว้ว่า ประเทศอินโดนีเชียจะแตกเป็น 6-14 ประเทศ
ซึ่งในตอนนั้น นักรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หัวเราะจนฟันกระเด็น
แต่ต่อมาพอปี 2542 เหตุการณ์เริ่มเป็นจริง ! ประเทศอินโดฯได้เริ่มแตกเป็น ติมอร์
และตอนนี้ก็กำลังจะเกิดประเทศ อาเจะ และอีกหลายประเทศ ที่จะเกิดตามมา
ในวันที่ 11 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมาที่งานคนดีศรีสังคม ณ หอประชุมวัฒนธรรมฯ
คุณนิติภูมิได้บรรยายว่า ประเทศไทยจะต้องแตกเป็นประเทศใหม่อีก 4 - 6 ประเทศ แน่นอน !
ทั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นอย่างมีกระบวนการ โดยสถานการณ์จะเริ่มชัดขึ้นในปี 2553
ซึ่งเป็นปีที่ข้อตกลง GATTs จะเริ่มมีผลสมบูรณ์ การค้าเสรีจะมีผลสมบูรณ์
สินค้าเกษตรต่าง ๆ จากต่างประเทศจะทะลักเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมหาศาล
ในขณะที่เกษตรกรของไทยจะไม่กินสินค้าเกษตรของไทยด้วยกัน
และสินค้าเกษตรของไทยก็จะขายไม่ออกเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ
ประกอบกับการที่การพัฒนาการเกษตรของไทยได้พัฒนาอย่างผิดทิศทาง
เป็นการพัฒนาแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้คนปลูกลำใยไทยก็จะปลูกแต่ลำใย
จะกินข้าวก็ต้องซื้อข้าวเวียดนามมากิน คนปลูกข้าวไทยก็ต้องไปซื้อหอมกระเทียมจากจีนมากิน
คนปลูกหอม กระเทียมจะไม่ซื้อลำใยจากไทยแต่จะไปซื้อจากเกาหลีมากิน
เป็นวงจรอย่างนี้ทำให้สินค้าเกษตรของไทยขายไม่ได้
เพราะแม้แต่เกษตรกรไทยด้วยกันก็ยังไม่ซื้อของเกษตรไทยด้วยกันมากิน
เนื่องจาก สินค้าของต่างประเทศมีต้นทุนถูกกว่าสินค้าเกษตรของไทยมีต้นทุนที่สูงกว่า
เพราะใช้ปัจจัยการผลิตปุ๊ยของต่างประเทศ พันธุ์พืชก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้าพันธุกรรมท้องถิ่นจะถูกทำลายจาก GMOs
และเมื่อเกษตรกรไทยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ของประเทศอยู่ไม่ได้
วิกฤตที่มหาโหดสุดก็จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย รัฐบาลไทยจะไม่มีปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาได้
เพราะมาตรการทางการเงินก็จะใช้ไม่ได้ เนื่องจากธนาคารไทยกลายเป็นของต่างประเทศหมดแล้ว
ไฟฟ้าก็แพงขึ้น น้ำมันก็แพงขึ้น โทรศัพท์แพงขึ้นเนื่องจากวิสาหกิจเหล่านี้กลายเป็นของต่างชาติหมดแล้ว
เขาสามารถตั้งราคา ได้ตามใจชอบถ้ารัฐบาลไปขอให้ลดราคาก็จะได้รับคำตอบว่า เขาจะไม่มีกำไร
ธุรกิจจะอยู่ได้ด้วยกำไรเท่านั้น ถ้าเขาไม่มีกำไรเขาก็จะตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดโทรศัพท์
คุณเลือกเอาว่าจะยอมจ่ายในราคาที่แพงหรือว่าจะยอมไม่มีใช้
ดังนั้น รัฐบาลในอนาคตจะได้แต่นั่งทำตาปริบ ๆ ๆ เมื่อเกษตรกรไทยอยู่ไม่ได้
การขายที่ดินราคาถูก ๆ และจำนวนมหาศาลจะตามมา คนที่มีกำลังซื้อก็คือชาวต่างชาติ
ซึ่งปัจจุบันก็ปรากฏแล้วว่าที่ดินบริเวณภาคตะวันออกได้ถูกต่างชาติกว้านซื้อไปเป็นจำนวนมากแล้ว
เกษตรกรไทยที่ขายที่ดินได้ ก็ไม่ามารถนำเงินที่ได้ไปลงทุนให้เกิดรายได้ได้
เพราะธุรกิจอื่นได้ตกอยู่ในกำมือของต่างชาติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการค้าปลีกก็ตกอยู ่ในมือของ Big C, Lotus, Carrefour, ธุรกิจอาหารก็ตกอยู่ในมือของ KFC, Pizzahat, McDonal, สิ่งทอเสื้อผ้าก็ของพวกฝรั่งเศส ฯลฯ
ดังนั้น เงินตราของไทยก็มีแต่จะถูกดูดออก เหมือนกับคนที่เลือดไหลไม่หยุด ...
เมื่อคนจนอยู่ไม่ได้ ... รัฐจะอยู่ได้ฤา ?
4
จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นแห่งแรกที่จะขอแยกตัวออกจากประเทศไทย
เนื่องจากความแตกต่างที่เห็นชัดเจนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในปี 2553
คนไทยภาคใต้จะเห็นด้วยกับการแยกประเทศ เพราะเห็นความล้มเหลวของรัฐบาลไทย
การเมืองไทย การคัดค้านจะน้อยลง การสนับสนุนให้แยกจะทวีความรุนแรงขึ้น
จนรัฐบาลไทยไม่สามารถควบคุมได้ถ้ารัฐบาลใช้กำลังทหาร ก็จะถูกต่างชาติส่งทหารมาต่อต้านกองทัพไทย
ซึ่งแน่นอนกองทัพไทยไม่มีปัญญาไปต่อสู้อยู่แล้ว การแยกตัวจะสำเร็จได้ในไม่นาน
จากนั้น ภาคตะวันออก บริเวณจันทบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา จะขอแยกตัวตามมา
เนื่องจากที่ดินแถบนั้นกลายเป็นของต่างชาติหมดแล้ว
เนื่องจากที่ดินบริเวณดังกล่าวถูกใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมของต่างชาติ ทั้งสมุนไพร อาหารต่าง ๆ
เมื่อรัฐบาลไทยเป็นอุปสรรคของต่างชาติ การขอแยกตัวก็จะทำได้ไม่ยาก
นั่นหมายถึง การซื้อประเทศไทย คล้ายกับที่สหรัฐอเมริกาซื้อรัฐ Alaska จาก Russia
ถ้าไทยต่อต้าน เจอทหารต่างชาติแน่
เราจะเตรียมรับมือกับวิกฤติในอนาคตอย่างไร ?
ผมติดตามงานเขียนคุณนิติภูมิ มาหลายปี และสิ่งที่เขียนในไทยรัฐหน้า 2 เกือบทุกวันนั้น
ไม่น่าเชื่อเลยว่า หนังสือพิมพ์ต่างประเทศจะเอาข้อมูลงานเขียนของนิติภูมิ
ไปแปลลงหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ในการวิเคราะห์
บ่อยครั้งที่นิติภูมิ มองการค้า การเมือง สังคมไปพร้อมกัน
รวมทั้งประวัติศาสตร์เขามอง อาเจนติน่า ก่อนล่มสลายทางเศรษฐกิจ
ก่อนล่มจริง ... เขาทำนาย การเกิดสงคราม อเมริกากับอิรัค ข้อคิด รวมทั้งอนาคตชาวเชเชนไว้น่าสนใจ
ผมว่า สิ่งที่เขาพูดเป็นไปได้นิติภูมิ ทำให้ผมต้องกลับมาซื้อของโชห่วยของคนไทย
แทนที่ไปเดิน big-c, lotus, careflour, เพราะผมบอกแม่บ้านและลูก ๆ ว่า
เราซื้อของร้านโชห่วย ข้างบ้าน ไม่ต้องไปห้างใหญ่อีกเพราะอะไร
เพราะเราไป คาร์ฟู เงิน 100 บาทที่เราจ่ายไปจะไปสู่ฝรั่งเศส 86 บาท เหลือให้คนไทย 14 บาท
เพราะของต่างชาติเกือบ 100 เปอร์เซนต์ บิกซี โลตัสเหมือนกัน
นิติภูมิเคยเอาเปอร์เซนต์ที่ต่างชาติถือหุ้นมาลงให้ดู ของ 3 ห้างดัง
ผมตกใจมาก และตัดสินใจซื้อน้ำปลาข้างบ้านตั้งแต่วันนั้น
เพราะว่าต่างชาติถือหุ้นกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แล้วบางห้าง 86 ปอร์เซ็นต์
สอนลูกว่ามันจะแพงกว่าห้าง 3 บาท ก็ซื้อที่นี่มันจะแพงกว่า 5 บาทก็ซื้อที่นี่
เพราะมันจะเป็นภาษีคนไทย กลับมาหาลูกเอง ผมคิดแบบนี้จริง ๆ ๆ
ถ้าซื้อจากห้าง 1,000 บาท มันไหลไปต่างประเทศ 900 บาท ที่เหลือ 100 บาท
ที่เห็นจ่ายค่ายามเฝ้าห้างไง มองอาเจนติน่าง่ายนิดเดียว
ห้างต่างชาติบุกไปตั้งมากกว่า 400 ห้าง ทั่วประเทศ
คนอาเจนติน่าจึงทำเงินส่ง คาร์ฟู ส่งห้างต่างชาติ เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
เงินคนทั้งชาติของชาวอาเจน จึงไหลไปหมด ในประเทศจึงไม่เหลืออะไร
ทางสุดท้ายที่ไม่น่าเชื่อเลยว่าทำได้ ผมพาลูกผมหัดทานขนมกรอบให้น้อยลง
เลิกกิน kfc และพยายามทานให้ลดลง และจำนวนหน ต่อปีน้อยสุด
ผมอธิบาย วิธีสิ้นชาติแบบทางเศรษฐกิจตั้งแต่เริ่มจนจบให้เด็กที่บ้าน และลูกฟัง
หัดให้ลูกมาทานบัวลอย ขนมชั้น ข้าวเหนียวเปียกแทน ถั่วดำข้าวเหนียว ดีครับ
ได้ผล .... ลูกเปลี่ยนวิธีกิน ... วิธีคิดไปเลย ... เปลี่ยนไปได้มาก
พอเย็นสั่งผมซื้อเต้าส่วนบ้าง ขนมชั้นบ้าง ลูกเดือยบ้าง
ผมพูดนิดนึงที่เขาเข้าใจคือ ผมไปตลาดซื้อไก่ทอดแม่ค้ามา 3 ขาไก่ทอดแบบไทย ๆ
แล้วผมไป kfc ซื้อมา 3 ชิ้น เลือกน่องครับเหมือนกัน ราคาต่างกันลิบเลย
ผมก็อธิบายคำว่า license ( ค่าลิขสิทธิ ) ให้ลูกฟัง
ผมบอกว่า ซื้อไก่ 35 บาท ค่าไก่ 15 บาท ที่เหลือเป็นค่าลิขสิทธ
ไก่แม่ค้าที่ถูกเพราะไม่มีค่าลิขสิทธิ ใบตองที่ห่อขนมไทย ไม่มีลิขสิทธิ
มันเป็นวัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ไม่ถึง 3 เดือน
ขนมต่างชาติ ห่อสวย แพง เพราะยี่ห้อมันมีลิขสิทธิ
เวลามันหล่นที่พื้น ไม่มีคนเก็บมันจะย่อยสลายภายใน 200 ปี
ผมสอนแบบนี้ ลูกผมเปลี่ยนวัฒนธรรมไปเลย ผมทำได้และได้ทำแล้ว
ปล . ใคร่จะขอกรุณาช่วยนำบทความไปเผยแพร่ต่อ จะเป็นพระคุณมากครับ
ยาวไปหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพื่อที่ไทยเราจะได้อยู่รวมเป็นชาติไทยต่อไป
**
เมื่อกี้ดูที่นี่ประเทศไทย เปิดเพลงชาติให้ฟัง ไม่เคยฟังแล้วรู้สึกว่าอยากร้องไห้เท่าวันนี้เลย
ฟังแล้วเห็นภาพที่คนไทยทั้งประเทศ ช่วยกันช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้
แต่อยากจะขออีกอย่างหนึ่งคือรักชาติหน่อย ช่วยกันหน่อยครับ  




 

โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services

แชตออนไลน์ทันใจกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ! Windows Live Messenger














ประสบการณ์แชทออนไลน์แบบใหม่สุด แชทได้จากทุกบล็อกและหน้าเว็บ!
Yahoo! ท้าให้ลอง Pingbox ใหม่ มาดูกันเลย!

See all the ways you can stay connected to friends and family

แบ่งปันรูปถ่ายกันอย่างง่ายดายด้วย Windows Live™ Photos ลากแล้วปล่อย

Express your personality in color! Preview and select themes for Hotmail®. Try it now.




ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ

แบ่งปันความทรงจำกับคนอื่นๆ ที่คุณต้องการทางออนไลน์ได้ คนอื่นๆ ที่คุณต้องการ

ถูกพบอยู่กับ Buddy! แท็กรูปของคุณแล้วลุ้นคว้ารางวัลอันน่าตื่นตาตื่นใจ คลิกที่นี่เลย





--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.narit.or.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.momypedia.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แบงก์สวิสถูกเจาะปราการลับ

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11489 มติชนรายวัน


แบงก์สวิสถูกเจาะปราการลับ




เอ เอฟพีรายงานว่า เป็นเวลากว่า 60 ปีที่ธนาคารพาณิชย์ของสวิตเซอร์แลนด์มีภาพพจน์ที่แข็งแกร่งด้วยการมีกฎหมาย ปกป้องความลับของลูกค้า แต่จากการที่ธนาคารยูบีเอส ธนาคารใหญ่อันดับ 1 ของสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐเพื่อลดแรงกดดันกรณีสหรัฐกล่าว หาว่ายูบีเอสช่วยลูกค้าชาวอเมริกันจำนวนมากหลีกเลี่ยงภาษี ทำให้นักกฎหมายและนายธนาคารเชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการสร้างรอยโหว่บน กำแพงความลับของระบบธนาคารสวิส ทำให้ระบบรักษาความลับอ่อนแอลง

"หายนะของยูบีเอสเป็นหายนะสำหรับศูนย์กลางการเงินของสวิส" นายแพทริค ซีกัล ผู้อำนวยการธนาคารเอดมอนด์ เดอ ร็อธไชลด์ ไพรเวท ระบุ

รายงาน ข่าวระบุว่า กฎหมายธนาคารสวิส ช่วยปกป้องความลับลูกค้าแบบสมบูรณ์ โดยแม้แต่เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรก็ไม่สามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารยูบีเอสและรัฐบาลสหรัฐได้ทำสนธิสัญญาเพื่อยุติคดีที่สหรัฐฟ้องร้อง กล่าวหาว่าช่วยลูกค้าชาวอเมริกันเลี่ยงภาษี ด้วยการยอมเปิดเผยบัญชีลูกค้าชาวอเมริกัน 4,450 คน ซึ่งถูกกฎหมายและนักวิเคราะห์ชี้ว่าเป็นการยินยอมผ่อนคลายการปกป้องความลับ ลูกค้า อีกทั้งไม่มีอะไรรับประกันว่าสนธิสัญญานี้จะไม่ถูกนำไปบังคับใช้กับธนาคาร อื่นด้วย


หน้า 18
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01ecb02240852&sectionid=0141&day=2009-08-24

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คนเล็กจ่ายก่อน

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11489 มติชนรายวัน


คนเล็กจ่ายก่อน


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์




ข่าว สับสนของ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ประชาชนในภาคใต้จำนวนหนึ่งถูกสั่งให้เสียเงินค่าโลกร้อน เพราะไปตัดต้นยางเก่าในพื้นที่ซึ่งพวกเขาอ้างว่าทำกินกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตา ยาย แม้สมมุติว่า พื้นที่สวนยางดังกล่าวถูกประกาศเป็นเขตวนอุทยานฯทับลงไปแล้ว ค่าปรับก็ยังเป็นค่าปรับที่ทำให้โลกร้อน (ด้วย) ไม่ใช่เพราะบุกรุกเขตวนอุทยานฯอยู่ดี

ฉะนั้น จึงน่าตกใจแก่ชาวบ้านร้านตลาดพอสมควร เพราะไม่รู้ว่าสิทธิการตัดต้นไม้ในบ้านเรือนไร่นาของตนเองได้หมดไปตั้งแต่ เมื่อไร ทางกรมอุทยานฯก็ออกมาปฏิเสธว่า เรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง เพราะกรมไม่เคยมีคดีกับชาวบ้านเรื่องนี้ แม้ชาวบ้านจะยืนยันว่าคำสั่งที่ตัวได้รับนั้นเป็นคำสั่งศาล

สื่อไม่ ได้ลงไปเจาะให้เจอตัวคำสั่งศาล หรือเจอความเข้าใจผิดของชาวบ้าน แต่สื่อกลับตอบโต้ด้วยการนำเอา พ.ร.บ.ซึ่งออกมาตั้งแต่ 2535 มีมาตราค่าปรับเรื่องการกระทำที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมายืนยัน ทางกรมอุทยานฯก็ยังยืนยันว่าไม่มีสูตรคิดค่าเสียหายจากชาวบ้านที่ตัดไม้ ทำลายป่า ในที่สุดมติชนไปได้เอกสารของกรมอุทยานฯ มีเลขที่และวันที่ชัดเจน ส่งถึงสำนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง เพื่อแจกแจงค่าเสียหายที่เกิดจากการบุกรุกทำลายป่าแห่งหนึ่ง และในนั้นมีรายการค่าปรับที่ "ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น" เป็นเงินสี่หมื่นกว่าบาทต่อไร่ต่อปี

กรมอุทยานฯอ้างว่า คงเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องโยงข้อความใน พ.ร.บ.มาใช้ โดยทางกรมไม่เคยมีสูตรคิดเลย พูดอีกอย่างหนึ่งคือเป็นความขยันไม่เข้าเรื่องของข้าราชการระดับล่างโน่น - และผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนลงนามในหนังสือของกรมที่มีไปยังสำนักงานอัยการใน พ.ศ.2548

ยังมีความสับสนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดมาจากตัวกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจเกิดจากความสับสนของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมาย

ภาวะ โลกร้อนเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่มากในปัจจุบัน ทุกประเทศต้องช่วยกันอย่างเต็มที่ในการลดเงื่อนไขที่ทำให้โลกร้อน ประชาชนในแต่ละประเทศก็มีภาระอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ และไม่ว่าจะเอาคาร์บอนเครดิตไปขายได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของมนุษย์ ทั้งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และที่ทำขึ้นเพื่อดำรงชีวิต ย่อมต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นธรรมดา ปัญหาคือจะแบ่งความรับผิดชอบของผู้กระทำอย่างไร

ในส่วนกิจกรรมที่ เป็นไปตามธรรมชาติ (ตั้งแต่ตดไปจนถึงอาบน้ำและกิน) กิจกรรมใดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้ทำเป็นปกติ แต่ส่วนที่เลี่ยงได้ หากอยากจะบริโภคอุปโภคให้ได้ ก็ต้องรับภาระเพิ่มขึ้น เช่นกระบวนการผลิตเนื้อวัวก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมาก ผู้บริโภคก็ต้องแบกรับราคาที่สูงกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่นเช่นปลา ตามธรรมชาติ

ในส่วนกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือธรรมชาติ (เช่นตัดต้นยางเก่าออก) หลักการพิจารณาก็คือ มีทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้ในเงื่อนไขที่เป็นธรรม อันจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยลงหรือไม่ หากไม่มี เช่นกรณีชาวบ้านที่ทำสวนยาง ถึงอย่างไรก็ต้องโค่นต้นยางเก่าทิ้ง และในเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน ย่อมไม่มีเทคโนโลยีให้เลือกมากไปกว่าเลื่อย

ในกรณีเช่นนี้ หลักปฏิบัติที่เขาใช้กันทั่วไปก็คือ กระจายความรับผิดชอบไปให้แก่ทุกฝ่าย เช่นเอาค่าปรับโลกร้อนไปฝากไว้ในภาษีการซื้อ-ขายยางพารา จะฝากไว้ที่ระดับน้ำยาง หรือระดับผลิตภัณฑ์เช่นยางรถยนต์ก็ตาม แต่ผู้บริโภคต้องจ่าย โดยไม่เอาค่าปรับไปกระจุกไว้ที่ปัจเจกบุคคลที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แล้วปล่อยให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก กิจกรรมนั้นลอยนวลไป

และในทำนองเดียวกัน หากสังคมยอมให้ผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก (และก๊าซพิษอื่นๆ ด้วย) มากกว่าพลังงานอื่น โรงไฟฟ้าประเภทนั้นก็ต้องจ่ายภาษีโลกร้อนเพิ่มเข้ามา แต่โรงงานนั้นก็ไม่เดือดร้อนนัก เพราะสามารถกระจายภาระภาษีไปให้แก่ผู้บริโภคได้ ถึงตอนนั้นผู้บริโภคจะหลับหูหลับตาอนุมัติให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป ขอเพียงให้พ้นบ้านตัวเองเท่านั้น ก็ตามใจ เพราะทุกโรงไฟฟ้าถ่านหิน ค่าไฟฟ้าไม่ได้ถูกลง แต่กลับแพงขึ้น

ในทางตรงกันข้าม หากมีกระบวนการผลิตให้เลือกและในเงื่อนไขที่เป็นไปได้ ผู้ผลิตยังเลือกที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายที่ไม่ยอมบำบัดน้ำเสีย ก็ควรต้องรับผิดชอบกับค่าปรับโลกร้อนเองโดยตรง

แต่น่าประหลาดที่ใน เมืองไทย หลักปฏิบัติที่เขาใช้กันทั่วไปสำหรับจัดการกับการ "ละเมิด" ต่อสังคม กลับมักเป็นตรงข้าม กล่าวคือผลักภาระการ "ละเมิด" นั้นไปให้คนเล็กสุดรับเอาไว้ แล้วปกป้องผู้บริโภคกับนายทุนให้พ้นจากความรับผิดชอบเสีย หากผู้บริโภคไม่ต้องรับผิดชอบ การบริโภคก็ยังดำเนินต่อไปโดยไม่สะดุด และนายทุนก็สามารถทำกำไรได้โดยไม่สะดุดเช่นกัน

ภาษีสิ่งแวดล้อมหรือ ภาษีโลกร้อนจึงไม่มีใช้ในเมืองไทย และตราบเท่าที่ไม่ยอมรับหลักการดังกล่าวข้างต้น หากขืนมีใช้ให้ได้ ก็น่ากลัวว่าจะกลายเป็นภาระอันหนักของคนตัวเล็กๆ... อย่างถูกต้องตามกฎหมายเสียด้วย

ในรอบ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ยังมีข่าวชวนสับสนอีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อมีเหตุขัดข้องทางเทคนิคกับระบบส่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งจากอ่าวไทยและพม่าพร้อมกัน กำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ก็ลดลงอย่างฮวบฮาบ จำเป็นต้องหาทางผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรีบด่วน

กฟผ.เหลือ ทางเลือกอยู่เพียงสองอย่าง คือผลิตไฟฟ้าจากกำลังน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรี เวลาที่กะทันหันเช่นนั้นย่อมเตือนภัยประชาชนที่อยู่อาศัยริมน้ำใต้เขื่อนไม่ ทันเป็นธรรมดา หรือสอง ผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีต้นทุนสูงกว่าพลังน้ำมาก

กฟผ.เลือกการผลิตไฟฟ้า ฉุกเฉินด้วยพลังน้ำ และเกิดความเสียหายหลายประการแก่ประชาชนท้ายเขื่อน เพราะน้ำขึ้นอย่างรวดเร็วจนเก็บข้าวของไม่ทัน

เหตุใด กฟผ.จึงใช้ทางเลือกนี้ คำตอบที่เห็นได้ชัดก็คือ เพราะต้นทุนจะต่ำสุด แต่ที่ต้นทุนต่ำได้นั้นก็เพราะประชาชนท้ายเขื่อนเป็นผู้แบกรับต้นทุนส่วน ใหญ่เอาไว้ หมายความว่าบ้านเรือนที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงนั้น รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งไม่ต้องหยุดเครื่องระหว่างนั้น อันเป็นความเสียหายมีมูลค่าสูงมาก ได้ใช้ไฟฟ้าในราคาเดิม บนความเสียหายของทรัพย์สินชาวบ้านท้ายเขื่อนศรีนครินทร์

ก็เรื่องเดิมอีกเช่นเคย คนเล็กๆ คือผู้แบกรับภาระรับผิดชอบก่อนเสมอ

เวลา นี้ ชาวบ้านท้ายเขื่อนกำลังเรียกร้องค่าเสียหาย เฉพาะวันแรกวันเดียวที่เปิดให้แจ้ง ก็รวมมูลค่าความเสียหายไปแล้วถึง 50 ล้านบาท แพงกว่าที่จะใช้น้ำมันแก้ปัญหาฉุกเฉินอย่างเทียบกันไม่ได้

แต่ กฟผ.ตั้งอยู่ในประเทศไทยมานาน ย่อมรู้ดีว่า ในที่สุด กฟผ.ก็ไม่ต้องจ่าย หรือจ่ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะนโยบายหลักของประเทศไทยก็คือ คนเล็กๆ รับภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของภาวะฉุกเฉินก่อนเสมอ ขณะนี้ กฟผ.กำลังมองหากฎหมายว่าจะจ่ายค่าเสียหายนี้ได้อย่างไร และพบว่าไม่มีกฎหมาย ฉะนั้นต้องเสนอให้ร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อการนี้ในภายหน้า

ตอนนี้ยังจ่ายไม่ได้ และการตัดสินใจของ กฟผ.ที่จะแก้ปัญหาไฟฟ้าขาดฉุกเฉินอย่างที่ได้ตัดสินใจไปแล้วนั้น ก็ถูกต้องอยู่แล้ว

ปรากฏการณ์ พิลึกพิลั่นเหล่านี้ เป็นเพียงผิวนอกที่เรามองเห็นได้จากความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้าง ที่ครอบงำสังคมการเมืองไทยอย่างลึกซึ้งตลอดมา การเมืองใหม่ที่พร่ำเพ้อแต่หลักการเชิงศีลธรรมของนักการเมืองก็ตาม การเคลื่อนไหวเพื่อแสวงหาความเป็นธรรมให้พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ก็ตาม ล้วนเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว เมื่อเทียบกับความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่เราเผชิญอยู่

การใช้ ความรุนแรง (ในทุกความหมาย) เป็นเครื่องมือในความขัดแย้งก็เป็นเรื่องเศร้าอยู่แล้ว แต่มาคิดถึงความขี้ปะติ๋วของประเด็นที่ขัดแย้งกัน ยิ่งทำให้น่าเศร้าขึ้นไปอีก

ถึงจะสมานฉันท์กันได้สักวันหนึ่ง ก็คงสมานฉันท์กันในเรื่องขี้ปะติ๋วเท่านั้น


หน้า 6
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01240852&sectionid=0130&day=2009-08-24

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://twitter.com/care2causes
http://twitter.com/actionalerts
http://tham-manamai.blogspot.com
http://thammanamai.blogspot.com
http://sunsangfun.blogspot.com
http://dbd-52hi5com.blogspot.com
http://sundara21.blogspot.com
http://newsnet1951.blogspot.com
http://same111.blogspot.com
http://sea-canoe.blogspot.com
http://seminarsweet.blogspot.com
http://sunsweet09.blogspot.com
http://dbd652.blogspot.com
http://net209.blogspot.com
http://parent-youth.blogspot.com
http://netnine.blogspot.com
http://parent-net.blogspot.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th 







ปาร์ตี้ไปกับ Buddy! เติมประกายให้ Messenger ของคุณด้วย emoticons ฟรีๆ คลิกที่นี่เลย

ฟังหูไว้หูกับ ดร.โจเซฟ สติกลิตซ์

 


> From: sopon@area.co.th
> To: yk1980@hotmail.com
> Subject: ฟังหูไว้หูกับ ดร.โจเซฟ สติกลิตซ์
> Date: Sun, 23 Aug 2009 15:25:36 +0700
>
> มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
> http://www.thaiappraisal.org Knowledge Is Not Private Property
>
>
>
>
> ฟังหูไว้หูกับ ดร.โจเซฟ สติกลิตซ์
> If cannot see, Please go to: http://researchers.in.th/blog/006/1860
>
>
> ดร.โสภณ พรโชคชัย
>
> อาจารย์ชาวสหรัฐอเมริกาท่านนี้กำลังได้รับการกล่าวขวัญถึง เพราะรัฐบาลไทยหวังใจให้มาชี้ช่องทางฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่สิ่งที่ท่านเสนอจะสามารถนำไปใช้ได้จริง หรือจะพาเราเข้ารกเข้าพงหรือไม่ ลองมาพิจารณากันดู
>
> เมื่อวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552 ผมได้ไปฟังท่านบรรยายที่กระทรวงการต่างประเทศ จึงขออนุญาตนำมาสิ่งที่ท่านเสนอมาแสดงความเห็นเพื่อให้เกิดข้อถกเถียงในสังคมอุดมปัญญานี้ และเพื่อหาทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทยของเรา
>
>
>
> โต้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
>
> ประเด็นสำคัญที่อาจารย์ท่านนี้ยกขึ้นมากล่าวก็คือเรื่องตัวเลขดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross Domestic Projects GDP) โดยกล่าวว่าดัชนีดังกล่าวไม่ใช่เครื่องชี้การเจริญเติบโตของประเทศ ข้อนี้ดูเป็น 'แฟชั่น' ที่ผู้รู้หลายคนที่แสดงตัวเป็นผู้ที่ 'คิดต่าง' พยายามมองเช่นนี้ แต่ปัญหาก็คือ ถ้าไม่ใช้ GDP จะมีดัชนีใดอีกที่สามารถชี้วัดแทนได้ อาจารย์ก็ไม่ได้กล่าวว่าควรเป็นดัชนีใด หรือไม่ได้ยืนยันว่า 'ความสุขมวลรวมประชาชาติ' (Gross National Happiness: GNH) เป็นดัชนีที่เชื่อถือได้ เพราะยังไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจน
>
> ในความเป็นจริง การวัดความเจริญ ความมั่งคั่งหรือความสุขนั้น ไม่ใช่ดัชนีเดี่ยว แต่เป็นชุดของดัชนีที่นำมาใช้วัด เช่น ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) หรือ ดัชนีความสงบสุข (Peace Score) เป็นต้น ในการวัดการพัฒนาต่าง ๆ จึงต้องใช้หลาย ๆ ดัชนีมาวิเคราะห์ การจะหวังหาดัชนีเดี่ยวอันใดมาใช้แทนจึงเป็นไปไม่ได้ และการหวังใช้ GDP มาอธิบายทุกอย่าง ก็คงเป็นไปไม่ได้เช่นกัน
>
> ในที่นี้ผมได้ทดสอบความสัมพันธ์เชิงตัวแปรของดัชนีต่าง ๆ จากข้อมูลประมาณ 150 ประเทศพบว่า GDP มีความสัมพันธ์เชิงตัวแปรในการทดสอบการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) กับตัวแปรสำคัญ ๆ เช่น
>
> - ดัชนีการทุจริตและประพฤติมิชอบ (Corruption Index) ซึ่งชี้ว่า ประเทศที่มี GDP สูง จะมีความโปร่งใสมากกว่า โดยมีค่า R square อยู่ที่ 77.54%
>
> - ดัชนีการถือครองสมบัติ (Physical Property Right) ซึ่งชี้ว่า ประเทศที่มี GDP สูง จะมีความโปร่งใสมากกว่า โดยมีค่า R square อยู่ที่ 66.20%
>
> - ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ซึ่งชี้ว่า ประเทศที่มี GDP สูง จะมีความโปร่งใสมากกว่า โดยมีค่า R square อยู่ที่ 60.66% เป็นต้น
>
> ข้างต้นนี้แสดงว่า GDP เป็นดัชนีที่สะท้อนความเป็นจริงได้พอสมควรทีเดียว แต่จะให้เป็น 'แก้วสารพัดนึก' หรือหาดัชนีอื่นมาแทนคงไม่มี
>
>
>
> จับแพะชนแกะ
>
> ตอนที่อาจารย์ท่านนี้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้ GDP เป็นดัชนีความเจริญเติบโตนั้น ท่านบอกว่า สหรัฐอเมริกามีจำนวน 'คนคุก' สูงที่สุดในโลก จากข้อมูลของ http://hdrstats.undp.org/indicators/265.html พบว่า สหรัฐอเมริกามีคนคุกสูงถึง 738 คนต่อประชากร 100,000 คน สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 15 มี 350 คน ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 32 มี 256 คน หากพิจารณาดูตัวเลขเพียงเท่านี้ก็อาจคล้อยตามอาจารย์ท่านได้ว่า สหรัฐอเมริกามี GDP สูง แต่สังคมไม่สงบเพราะมีคนคุกมาก
>
> แต่ในความเป็นจริง หากเรามาพิจารณาประเทศที่มีคนคุกจำนวนน้อยที่สุดในโลก จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศ 'ด้อยพัฒนา' และไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่น แองโกลา คองโก ซูดาน ชาด มาลี แกมเบีย อินเดีย ไนจีเรีย ฯลฯ มีใครอยากไปอยู่ประเทศเหล่านี้ไหม ความจริงที่พึงทราบประการหนึ่งก็คือ การกวาดเก็บอาชญากรไว้ในคุกย่อมดีกว่าปล่อยให้เดินเล่นอยู่บนถนนทั่วไป
>
> ผมจึงตกใจที่อาจารย์ท่านนี้กล่าวว่า การใช้จ่ายเงินเพื่อการสร้างคุกไม่ควรถือเป็นเครื่องวัดใน GDP ทั้งที่การก่อสร้างซึ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างใด ๆ ก็ก่อให้เกิดการจ้างงาน แสดงผลิตภาพ และที่สำคัญเป็นกิจกรรมหนึ่งใน GDP ที่ทำให้เกิด "มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ภายในประเทศในระยะเวลา 1 ปีที่กำหนดไว้" นั่นเอง
>
>
>
> การส่งออกคือพระเอกต่างหาก
>
> ในขณะนี้ พอประเทศไทยส่งสินค้าออกไม่ค่อยได้ รัฐบาลก็มักจะคิดว่าเราน่าจะพึ่งตนเองมากกว่าการคิดจะส่งออกสินค้าซึ่งมีความผันผวนในตลาดของสินค้าอยู่เสมอ (โดยเฉพาะในยามที่เราอยากขายสินค้า) ดังนั้นเราจึงมุ่งส่งเสริมการใช้สอยภายในประเทศ อาจารย์ท่านนี้ก็เสนอแนะในทำนองเดียวกันนี้ แต่ผมเชื่อว่า แนวคิดข้างต้นนอกจากเป็นแบบ 'กำปั้นทุบดิน' แล้ว ยังอาจเป็นการ 'เข้ารก เข้าพง' เสียอีก
>
> ประเทศทั้งหลายอาศัยการส่งออกเป็นสำคัญ ถ้าใครขืนอยู่ 'หัวเดียวกระเทียมลีบ' ก็คงจะลำบากอย่างแน่นอน ประเทศมหาอำนาจก็รู้ ดังนั้นเขาจึงใช้การปิดล้อมทางเศรษฐกิจในการ 'ปราม' ประเทศเป้าหมาย เช่น อิหร่าน พม่าหรือเกาเหลีเหนือ เป็นต้น ประเทศที่เจริญขึ้นมาได้ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นไทย เวียดนาม จีน ล้วนแต่เป็นเพราะสามารถส่งออกสินค้า นำเงินตราเข้าประเทศ และนี่เองหน่วยงานเศรษฐกิจการคลังของแต่ละประเทศจึงพิจารณาตัวเลขการส่งออกและแนวโน้มของแหล่งตลาดต่างประเทศเป็นเครื่องชี้อนาคตทางเศรษฐกิจนั่นเอง
>
> การมุ่งเน้นการใช้สอยภายในประเทศ ยังมีความน่ากลัวสำคัญประการหนึ่งก็คือการดึงเอาเงินออมในอนาคตของประชาชนและของประเทศชาติโดยรวม ออกมาใช้จ่ายในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่นี่อาจกลายเป็นการทำลายเศรษฐกิจแบบไม่มีวันฟื้นคืน กลายเป็นประเทศล้มละลายไปในอนาคตก็ได้ และนี่คือก็คือการเล่นแร่แปรธาตุของรัฐบาลและหน่วยงานเศรษฐกิจของรัฐบาลกับตัวเลข GDP ให้ดูสูง ๆ จากผลของการใช้สอยภายในประเทศ และเป็นตัวบิดเบือนไม่ให้ GDP เป็นเครื่องชี้วัดที่ดีนั่นเอง
>
>
>
> วิเคราะห์วิกฤติเศรษฐกิจไม่ตรงจุด
>
> วิกฤติสหรัฐอเมริกานั้น ไม่ใช่เกิดเพราะการไม่มีดัชนีหรือมาตรวัดเครื่องเตือนภัยเศรษฐกิจแต่อย่างใด ในสหรัฐอเมริกามีทั้งการวัดจำนวนบ้านที่เปิดใหม่ จำนวนบ้านที่สร้างเสร็จ การเปลี่ยนแปลงราคาบ้านรายเดือน ทรัพย์สินที่ถูกสถาบันการเงินยึดไว้ ฯลฯ แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้มีมาตรการป้องกันปัญหาเท่าที่ควร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การนี้อาจเป็นการสมคบคิดกันระหว่าง 'แกงค์' ธุรกิจรายใหญ่กับรัฐบาลก็ได้
>
> ที่ผ่านมาเราเห็น 'ขี้ฝรั่งหอม' ทั้งที่ฝรั่งก็ไม่ได้มีมาตรฐานที่ดี และรัฐบาลของเขาก็ไม่ได้ดูแลอะไรให้ดีเลย ในที่ประชุมสุด G20 หรือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาตลาดการเงินโลก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ได้ประกาศร่วมกันว่า ต่อไปนี้ภาคการเงินต้องมีความโปร่งใส มีมาตรการที่เชื่อถือได้ดำเนินงาน เป็นต้น (www.g20.org/Documents/g20_summit_declaration.pdf) นี่แสดงว่าที่ผ่านมาประเทศตะวันตกไม่ได้มีมาตรฐานอะไรที่เป็นหลักประกันเลย
>
> ท่านทราบหรือไม่ว่า บริษัทจัดอันดับเครดิตใหญ่ ๆ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งครั้งหนึ่งมีเลห์แมนบราเธอร์ ซึ่งเจ๊งไปแล้ว รวมอยู่ด้วยนั้น บริษัทเหล่านี้ไปเที่ยวจัดอับดับให้คนอื่นทั่วโลก โดยไม่เคยมีหลักประกันใด ๆ ว่าถ้าจัดอันดับผิดจะต้องรับผิดชอบอย่างไร บริษัทใหญ่เหล่านี้มีไม่กี่แห่งทั่วโลก ดูคล้าย 'แกงค์" ที่ไม่เคยมีใครแตะต้อง ผิดกับนักวิชาชีพอื่น เช่น หมอ วิศวกร ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน ทนาย ฯลฯ ซึ่งต้องมีการประกันความผิดพลาดทางวิชาชีพ เป็นต้น
>
> ถ้าตลาดหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศต้องการความโปร่งใส คุ้มครองผู้บริโภคจริง และป้องกันการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ทำไมจึงยังอนุญาตให้บริษัทมหาชนทั้งหลายแต่งตั้ง 'กรรมการอิสระ' (ซึ่งจริง ๆ แล้วอิสระหรือไม่ ยังเป็นที่สงสัย) กันเอง ทำไมปล่อยให้บริษัทมหาชน หาบริษัทตรวจบัญชี บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน หรือบริษัทตรวจสอบต่าง ๆ กันเอง อย่างนี้เป็นการ 'ปากว่า ตาขยิบ' หรือไม่
>
>
>
> ระวังธุรกิจสีเขียว
>
> อาจารย์ท่านแนะนำให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อันที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานซึ่งอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมาย หากวิสาหกิจใดทำลายสิ่งแวดล้อม ละเมิดต่อสิทธิของผู้อื่น หรือทำให้เสียทรัพย์ เสียชีวิต อัยการของรัฐก็สามารถที่จะฟ้องร้องได้อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาราชการส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเทศ อาจไม่ได้นำพา ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะได้รับสินบนจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ การรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจสิ่งแวดล้อมจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด และปล่อยโจรที่ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไป
>
> เมืองจำนวนมากในสหรัฐอเมริกามีระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำดีเยี่ยม น้ำเสียจากทุกบ้าน จะถูกต่อท่อไปบำบัดรวม ทำให้คูคลอง ทะเลสาบ และสภาพแวดล้อมสะอาด บางทีเมื่อเราคลั่งไคล้สิ่งแวดล้อมมาก บริษัทจัดการสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา อาจได้โอกาสส่งออกความรู้มาขายคนไทยอีกคำรบหนึ่ง
>
> มีตัวอย่างหนึ่งคือ 'Smart Growth' (www.smartgrowth.org) คือแต่ไหนแต่ไรมา สหรัฐอเมริกาใช้สอยทรัพยากรอย่างสุดสิ้นเปลือง เมืองขยายไปอย่างไร้ขอบเขต แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะประเทศของเขาร่ำรวย แต่ภายหลังนักวิชาการอเมริกันพบว่า เมืองทั่วสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะเช่นนี้ ขาดประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ใครไม่มีรถก็เท่ากับพิการ ไปไหนไม่ได้ ก็เลยเกิดแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบ 'Smart Growth' คือเน้นการสร้างความหนาแน่นในเมือง ให้คนเดินถึงสาธารณูปการต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นการบุกรุกออกสู่พื้นที่เกษตรนอกเมือง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แล้วก็นำแนวคิดนี้มาขายให้กับประเทศกำลังพัฒนา ประเทศเหล่านี้ก็ดีใจ ได้แนวคิดใหม่อีกแล้ว ทั้ง ๆ ที่ประเทศเหล่านี้ไม่เคยมีโอกาสใช้สอยที่ดินอย่างสุรุ่ยสุร่ายเช่นในสหรัฐอเมริกาเลย
>
>
>
> สร้างความโปร่งใสสำคัญที่สุด
>
> ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มาก เงินจำนวนมหาศาลก็รั่วไหลไปในมือผู้มีอิทธิพลส่วนน้อย หนทางสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือ การอาศัยอำนาจรัฐที่เป็นธรรมในการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในประเทศ และขจัดความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน แนวทางการดำเนินงานก็ได้แก่:
>
> - การสร้างระบบตรวจสอบที่ดี ท้องถิ่นหนึ่งอาจมีเจ้าหน้าที่ดูแลการโยธาเพียง 5 คน แต่มีบ้านในท้องถิ่นนั้นนับหมื่นหน่วย ดูแลอย่างไรก็ไม่หมด และเกิดช่องโหว่ในการไปดูแลเฉพาะกรณีที่สามารถรีดไถเงินต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสำคัญ กรณีนี้ภาครัฐต้องสร้างกลไกการตรวจสอบที่ดีโดยการว่าจ้าง (Privatize) และมีการกำกับตรวจสอบผู้ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
>
> - การมีมาตรการลงโทษที่เด็ดขาด ในประเทศที่เจริญ ประชาชนกลัวกฎหมาย แต่ไม่กลัวตำรวจ แต่ในประเทศกำลังพัฒนาอาจกลายเป็นตรงกันข้าม การลงโทษเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างนั้น เป็นสิ่งจำเป็น อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยดำเนินการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบน้อยกว่าประเทศหลายต่อหลายแห่ง เช่น ในจีน มีการยิงเป้าคนโกง เวียดนามก็เข้มงวดขนาดเอานักฟุตบอลล้มบอลติดคุก เป็นต้น
>
> - การนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบ เช่น หวยเถื่อน เหล้าเถื่อน หรือบ่อนการพนันเถื่อน กรณีนี้จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น รัฐบาลได้ภาษีมาบำรุงประเทศมากขึ้น แต่เรื่องเหล่านี้ มักเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเราอ้างตนเป็น 'ฝ่ายธรรมะ' จึงไม่ยอมให้เมืองพุทธนี้มีบ่อน มีหวยเสรีที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากเราฉุกคิดให้ดีตามทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) บางทีฝ่ายธรรมะกับอาชญากรเจ้ามือหวยเถื่อน เจ้าของบ่อนเถื่อน อาจเป็นพวกเดียวกัน เราจึงยังปล่อยให้มีบ่อน หวย มีสถานะเถื่อนหรือให้เป็นสีเทาเพื่อแสวงหาประโยชน์มิชอบกันเกลื่อนเมือง
>
>
>
> ย้ายไปอยู่ภูฏานกันไหม
>
> โดยสรุปแล้ว เมื่อเอ่ยถึงความสุข หลายคนบอกว่าภูฏานเป็นประเทศที่มีความสงบสุขกว่าไทย จนกลายเป็นประเทศ 'ส่งออก' แนวคิด GNH ไปแล้ว ผมจึงอยากถามว่า ท่านอยากย้ายถิ่นไปอยู่ (ไม่ใช่ไปท่องเที่ยว) ภูฏานหรือไม่ ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจ ลองมาดูข้อมูลเหล่านี้เสียก่อน (ข้อมูลเปรียบเทียบรายประเทศของ www.cia.gov)
>
> - ภูฏานมีขนาดพื้นดิน 38,394 ตร.กม. หรือประมาณ 8% ของประเทศไทย มีประชากรเพียง 1% ของประเทศไทยหรือ 691,141 คน แต่อัตราการเพิ่มเร็วกว่าไทยมากคือ ประมาณ 1.27% เทียบกับไทยที่มีอัตราเพิ่มเพียง 0.62%
>
> - อายุเฉลี่ยของประชากรภูฏานคือ 66.13 ปี ซึ่งต่ำกว่าของไทยที่มีอายุเฉลี่ยถึง 73.1ปี ที่สำคัญ จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่อ่านออกเขียนในภูฏานมีเพียง 47% เทียบกับไทยที่มีถึง 92.60%
>
> - ขนาดเศรษฐกิจของภูฐานเล็กเพียง 1% ของไทย แต่อัตราเงินเฟ้อคือ 4.9% ซึ่งพอ ๆ กับไทยคือ 5.5% แม้รายได้ต่อหัวของประชากรจะดูไม่ต่ำกว่าไทยนัก เป็นประมาณ 2/3 ของไทย แต่ในความเป็นจริงประชากรภูฏานที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีถึง 31.7% ในขณะที่ของไทยเป็นเพียง 10% เท่านั้น แสดงว่าช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในภูฏานสูงกว่าไทยมาก
>
> - อัตราการว่างงานของชาวภูฏานก็ยังสูงกว่าไทยนับเท่าตัวคือประมาณ 2.5% ในขณะที่ไทยอยู่ที่ 1.2% เท่านั้น
>
> ดูจากตัวเลขข้างต้น ยังไงคงมีคนจำนวนหนึ่งอยากไปแน่นอน อาจจะอยากบวชเป็นพระที่นั่น แต่คงเป็นคนส่วนน้อย (ที่ดวงตาเห็นธรรม) คนส่วนใหญ่คงไม่คิดจะไป เพราะติดขัดในเรื่องความสะดวกสบาย ความเจริญ และหลักประกันต่าง ๆ ซึ่งมีน้อยกว่าไทย
>
> ก็คงคล้าย ๆ กับคนไทยที่ไปอยู่สหรัฐอเมริกา พวกเขาส่วนมากดีใจที่ได้กลับมาเที่ยวเมืองไทย หรือบางคนที่แก้แล้วก็อาจอยากกลับมาตายบ้านเกิด แต่ถ้าจะให้คนไทยในสหรัฐอเมริกา ย้ายถิ่นกลับไทย มาอยู่ในสภาวะแวดล้อมอย่างไทย ๆ ลูกเต้าก็ต้องมาเรียนในโรงเรียนแบบไทย ๆ มาอยู่ในระบบสวัสดิการสังคมแบบไทย ๆ ที่แม้พวกเขาจะเสียภาษีน้อยกว่า ก็คงหาคนกลับมาแทบไม่ได้จริง ๆ
>
>
>
> ความเป็นสรวงสวรรค์ (Shangri-La) ของภูฏานและประเทศแถบนี้ คงเป็นเฉพาะตอนไปท่องเที่ยวหรือไปอยู่ชั่วคราวเป็นหลัก สวรรค์นั้นใคร ๆ ก็อยากไป แต่ติดปัญหาคือยังไม่อยากตาย และที่สำคัญที่สุดก็คือหลายคนยังมีความสุขกับการ 'ชดใช้กรรม' ในประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานี้มากกว่า


ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ