ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตะลึง! ก.พลังงานดันนิวเคลียร์ 5 โรง ชงกพช.อนุมัติแผนPDPใหม่กำลังผลิต 54,000 MW

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


ตะลึง! ก.พลังงานดันนิวเคลียร์ 5 โรง ชงกพช.อนุมัติแผนPDPใหม่กำลังผลิต 54,000 MW





ก.พลังงาน เคาะแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับ 2553 ผุดกำลังผลิตใหม่ 54,625 แผน 20 ปี (53-73) ดันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง รวม 5,000 เมกะวัตต์ ใส่พานให้ กฟผ. ถ่านหินอัดเต็มที่ 13 โรง แต่ยังไม่รู้ใครสร้าง ระบุต้นทุน ต่ำที่สุด เตรียมเสนอ กพช.อนุมัติแผน PDP



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานภายหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศ พ.ศ. 2553-2573 หรือ PDP 2010 (Power Development Plan) ว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับใหม่ 2553 จะพิจารณาบนพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่ร้อยละ 4-4.3 (จากเดิมที่ประเมินไว้ร้อยละ 5-5.5) หรือเรียกว่ากรณีฐาน จะมีสัดส่วนโรงไฟฟ้าใหม่รวมกำลังผลิตติดตั้ง 54,625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้า 6 ประเภท ได้แก่ 1) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 5 โรง กำลังผลิตรวม 5,000 เมกะวัตต์ 2) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 20 โรง กำลังผลิตติดตั้ง 15,870 เมกะวัตต์

3) โรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 13 โรง กำลังผลิตติดตั้ง 10,000 เมกะวัตต์ 4) เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP ประเภท Co-Generation กำลังผลิตติดตั้ง 6,844 เมกะวัตต์ 5) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่เป็นของเอกชนและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวม 5,242 เมกะวัตต์ และ 6) รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศกำลังผลิต 11,669 เมกะวัตต์

เมื่อ เปรียบเทียบกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่างแผน PDP 2550 และแผน PDP 2553 จะพบว่ามีกำลังผลิตไฟฟ้าในช่วงสิ้นปี 2564 ลดลงถึง 4,175 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังผลิตติดตั้งรวมอยู่ 47,618 เมกะวัตต์ จากเดิมที่แผน PDP 2550 ที่มีกำลังผลิตติดตั้งรวมสูงถึง 51,792 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ สำหรับปริมาณสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin) ในช่วงต้นแผน PDP นี้ยังมีปริมาณที่ค่อนข้างสูงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 20-25 จนกระทั่งเมื่อถึงช่วงท้ายของแผน PDP 2553 จึงจะมีปริมาณสำรองไฟฟ้าอยู่ที่ร้อยละ 15 ทั้งนี้ สำหรับแผน PDP 2553 จะมีการลงทุนทั้งในระบบผลิตไฟฟ้าและระบบสายส่งอยู่ที่ 4.298 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ยังระบุถึงความจำเป็นที่ต้องเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินเข้ามาเพิ่ม ขึ้น เพราะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำที่สุด โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ จะมีต้นทุนอยู่ที่ 2.79 บาท/หน่วย ในขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 2.94 บาท/หน่วย ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Gas Existing) กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 3.96 บาท/หน่วย โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Marginal Gas) กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ มีต้นทุนอยู่ที่ 4.34 บาท/หน่วย

ด้าน นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ของประเทศ จะนำเข้าในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในสัปดาห์นี้ โดยแผนดังกล่าวได้เพิ่มกำลังผลิตที่ มาจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ตามที่มีการเสนอมา ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามแผน พบว่าสัดส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมากขึ้นจากแผน เดิม สำหรับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างทั้งหมด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินขณะนี้เปิดกว้างเอาไว้ ยังไม่ได้สรุปว่าจะมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้า หรือให้ กฟผ.เป็นผู้รับผิดชอบในสัดส่วนอย่างไร

การรับซื้อไฟฟ้าที่มาจาก พลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นนั้น ต้องยอมรับว่ากระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนบ้าง แต่ไม่มาก ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ จะเน้นที่รองรับเฉพาะถ่านหินสะอาด ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด


หน้า 5
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02inv01110353&sectionid=0203&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น