ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาษีที่น่าจะงดเก็บชั่วคราว ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีที่น่าจะงดเก็บชั่วคราว / สยามรัฐผลัดใบ

ยุวรัตน์ กมลเวชช14/8/2552

 

ภาษีที่น่าจะงดเก็บชั่วคราว

 

                หนังสือพิมพ์ข่าวท้องถิ่นลงข่าวภาษีโรงเรือนและที่ดินของสมุทรปราการว่า จัดเก็บถึง 30 มิถุนายน 2552 ได้เงิน 1,662 ล้านบาท ทำให้ชื่นใจในความสำเร็จ คุ้มกับการถูกด่าที่นำวิธีคำนวณค่าเช่ารายปีสำหรับเก็บ ภาษีโรงเรือนและที่ดินขึ้นมาใช้ในจังหวัดปทุมธานีและชลบุรี ปี 2533-2534 ที่เก็บภาษีนี้ทั้งประเทศได้เพียงปีละประมาณ 700 ล้านบาทเท่านั้น

                แม้ว่าวันนี้ เพียงสมุทรปราการจังหวัดเดียวยังเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินได้มากกว่าทั้งประเทศในสมัยนั้น แต่การเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ก็ยังคงเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม คล้ายกับเอาเงินทองของผู้ยากจนไปให้คนรวยใช้ เช่น ไม่เก็บภาษีบ้านเพื่ออยู่อาศัยแม้ราคาเป็นสิบๆ ล้านมีคนอยู่อาศัยนับสิบแต่พื้นที่ไม่เกินที่กำหนดตามข้อบัญญัติ แต่คนจนไม่มีเงินสร้างบ้าน ต้องเช่าบ้านคนอื่นอยู่สองสามคนราคา 2,000 บาทต่อเดือนคิดเป็นรายปี 24,000 บาท เสียภาษีร้อยละ 12.5 เป็นเงินต้องเสียภาษีปีละ 3,000 บาท หรือที่ยอมรับไม่ได้คือการเลี่ยงไปปลูกพืชผลไม้เช่นต้นกล้วยในที่ดินราคาแพงเพื่อจะได้เสียภาษีในอัตราต่ำ มองเป็นภาพการเบียดเบียนคนจนเพราะภาษีที่เก็บได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายจัดบริการต่างๆของท้องถิ่น แทนที่จะจัดเก็บตามความสามารถและจำนวนการใช้บริการ จึงมีการเรียกร้องให้ออกกฎหมายเก็บภาษีทรัพย์สินที่น่าจะให้ความยุติธรรมแก่สังคมแต่ไม่สำเร็จ ชักเข้าชักออกกันอยู่ ไปไม่ถึงไหน ตายระหว่างทางเดินของฝ่ายการเมืองอยู่เสมอ

                ที่เอามากล่าว เพื่อให้เห็นว่าการจัดเก็บภาษีโรงเรือนไม่ค่อยจะเป็นธรรม และเป็นภาระกับคนรายได้ต่ำ แม้ว่ากฎหมายกำหนดเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านเช่าเป็นผู้เสียภาษี แต่ทั่วไปมักทำสัญญาให้ผู้เช่าเสียภาษีแทนหรือรวมเป็นค่าเช่า ถ้ารัฐบาลยกเว้นไม่เก็บภาษีจากบ้านเช่าที่ไม่เกินเดือนละ 4,500.00 บาท หรือปีละ 54,000.00 บาท (คิดจากค่าใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 30 ของคนมีเงินเดือนไม่เกิน 15,000.00 บาท) จะทำให้คนรายได้น้อยที่เป็นแรงงานในเขตอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวนไม่น้อยกว่า 3-4 ล้านคนและนักเรียนยากจนอีกนับล้าน ที่เช่าห้องอยู่รวมกันในราคาประมาณ 2,000.00 บาท ไม่ต้องเสียภาษีปีละ 3,000 บาท หรือเดือนละ 250 บาท

                เงิน 250 บาทต่อเดือนมีค่ามากสำหรับคนกลุ่มนี้ เพราะซื้อข้าวได้กว่า 10 กิโลกรัมและยังเหลือเงินซื้อหมูรวนเค็มเก็บไว้กินได้ แต่ถ้าดัดจริตไปห้างซื้ออาหารที่จำเป็นแต่มีการปรุงตบแต่งเช่น บะหมี่สำเร็จรูปยอดนิยมของผู้ใช้แรงงานและนักเรียนที่ไม่มีครัวทำอาหารเพราะที่นอนก็ยังไม่พอจะนอนกันอยู่แล้ว ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้ารัฐบาลหาลู่ทางยกเว้นไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าบางอย่างที่จำเป็นชั่วคราวได้ ก็จะช่วยให้ผู้คนกลุ่มนี้ซื้อของจำเป็นได้ถูกลงอีกร้อยละ 7

                ดูแล้วน่าจะทำได้ง่ายๆ แต่บ้านเมืองไทยเรายังมีผู้ใหญ่ทะเลาะกัน ชิงความเป็นใหญ่ในสังคมที่มีปลาใหญ่ไล่กินปลาเค็ม จนกลไกของรัฐเป๋ ทำให้เรื่องง่ายเป็นเรื่องยาก มักจะไม่ได้ผลตามที่คิดไว้ เพราะกลไกรัฐมักชอบทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แม้แต่ที่นายังถูกต่างชาติหลบเลี่ยงกว้านซื้อได้ ทั้งๆที่ ทุกคนในท้องที่รู้กันหมดทุกคน เว้นแต่เจ้าหน้าที่เท่านั้นที่ไม่รู้

                การงดเก็บภาษีโรงเรือนจากค่าเช่าที่ต่ำกว่าเดือนละ 4,500 บาทต่อเดือนชั่วคราว จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าที่รายได้ต่ำจริงจัง ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กลไกที่มีอยู่ควบคุม ตรวจสอบจากการเสียภาษีจากค่าเช่าเดิมของแต่ละบ้านเช่าที่ท้องถิ่นจัดเก็บ (ถ้าท้องถิ่น โวยว่ารายได้ลด ก็ตั้งเงินอุดหนุนให้ไป) แล้วควบคุมเจ้าของบ้านเช่าให้ลดค่าเช่าตามจำนวนที่ไม่ต้องเสียภาษี ถ้ามีการละเมิดไม่ปฏิบัติต้องได้รับโทษทันที ท่านข้าราชการต้องทำตนเป็นคนรู้แล้วทำ อย่าทำตนเป็นคนคิดได้ แต่ทำไม่ได้ เพราะกลัวจะเดือดร้อน เนื่องจากไประคายเคืองปลาใหญ่ที่กำลังไล่กินปลาเล็ก น่าสงสารประเทศไทยจริงๆ ขอกราบถามเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน โปรดมีความกล้าเป็นธุระให้ทุกคนอยู่ในบังคับของกฎหมาย และเท่าเทียมกันเถิด เพื่อเพื่อนร่วมชาติจะมีชีวิตอยู่ด้วยกันได้ต่อไป

http://www.siamrath.co.th/UIFont/Articledetail.aspx?nid=3951&acid=3951

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.oknation.net/blog/aumpradya
http://www.oknation.net/blog/roungkaw
http://www.oknation.net/blog/pacm/2009
http://www.oknation.net/blog/summer
http://www.thaibreastfeeding.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น