From: JeaB <kwanruthai@dpiap.org>
Subject: สรุปการประชุมอาเซี่ยน
To:
Date: Thursday, July 23, 2009, 7:35 AM
ประชุมกรมอาเซียน (๑๗ ก.ค. ๕๒ – ๑๔.๐๐ น.)
- มูลนิธิศักยภาพชุมชนและหน่วยงาน CSOs อื่น ๆ ร่วมกันจัดทำแผนสังคมวัฒนธรรม และจะนำเสนอต่อกรมอาเซียน รูปแบบการทำงานเป็นลักษณะของคณะกรรมการชาติชุดใหญ่ และมีชุดย่อย ๆ ตามประเด็นต่าง ๆ องค์กรที่อยู่ในแผนนี้รวมถึง DPI/AP และ Forum-Asia ด้วย
- ตอนนี้หน่วยงาน CSOs ต่าง ๆ กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงาน ASEAN Summit ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ได้รับเงินสนับสนุนจากกรมอาเซียนประมาณ 2.8 ล้านบาท รวมถึงต้องหาจากที่อื่นด้วย
- ในงาน ASEAN Summit จะไม่ใช้รูปแบบการจัดงานแบบคู่ขนาน (Concurrent sessions) เนื่องจากไม่มีใครสนใจประเด็นของใคร จึงเสนอให้จัดแบบรวม โดยวันแรกจะเป็นการนำเสนอของ CSOs วันที่สองจะเป็นของ CSOs+GOs และวันสุดท้ายสรุป พี่ตี่จะเสนอให้เพิ่มเป็น 4 เสา โดยเพิ่มเสาสิ่งแวดล้อมไปด้วย วันที่ 29 ก.ค. นี้จะมีการนัดประชุมอีกครั้ง
- ผมได้นำเสนอในที่ประชุมว่า ในส่วนของกลุ่มคนพิการ เราจะร่วมขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับ CSOs อื่น ๆ เช่น ของมูลนิธิศักยภาพชุมชน เพื่อนำประเด็นปัญหาของคนพิการเข้าไปอยู่ในกระแสหลัก ในขณะเดียวกัน ในอาเซียนเองก็ควรมีการทำงานในประเด็นความพิการที่ชัดเจนขึ้น เพราะคนพิการในอาเซียนมีเกือบนับร้อยล้านคน (คนในที่ประชุมประหลาดในพอสมควร ไม่คิดว่าคนพิการจะมีจำนวนมากขนาดนี้) และถูกติดสิทธิ์จากทุกอย่าง เพียงแค่ออกจากบ้านไม่ได้ สิทธิทุกอย่างก็จะถูกตัดไปโดยปริยาย เป็นปัญหาเรื้อรังที่เป็นสนิมกัดกร่อนสังคม เราจึงควรมีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างในสหภาพยุโรปที่มี Disability forum เราก็ควรจะมี Disability Forum ใน ASEAN ด้วย และอาจพัฒนาต่อไปเป็น Disability Commission ทุกคนยินดีให้การสนับสนุน
- คุณสิรินแจ้งว่าได้รับจดหมายทั้งสามฉบับแล้ว จะนำเสนอต่อท่านอธิบดีให้เร็วที่สุด
ประชุมที่ APCD เรื่องทิศทางการทำงานของศูนย์ภายใต้มูลนิธิ (20 ก.ค. 52)
- ตั้งเป้าหมายในการเป็นองค์กรระหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมา APCD ประสบปัญหาในด้านสถานะขององค์กร และเนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงทำให้การทำงานไม่เป็น International เท่าที่ควร จึงตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถเป็นองค์กรระหว่างประเทศได้ และควรจะต้องมีคนทำงานที่มาจากต่างประเทศด้วย
- การทำงานของ APCD ในช่วงระยะแรก จะเน้นประเด็น (Issue-based) แต่ระยะที่สองเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะความพิการ (target-based) ควรให้มีการบูรณาการทั้งสองรูปแบบการทำงานเข้าด้วยกัน ไม่ควรเน้นด้านใดด้านหนึ่งและตัดขาดด้านหนึ่งไป
- องค์กรประสานงานทั้งภาครัฐและองค์กรคนพิการที่ผ่านมาทำงานกับ APCD ในลักษณะพึ่งพิงมากเกินไป ไม่มีส่วนร่วมในการจัดวางแผนหรือนโยบายของ APCD และไม่แบ่งปันทรัพยากรกัน
- ที่ผ่านมา APCD ทำงานตาม BMF ได้น้อย ไม่ครบทุกด้าน
- ต้องสื่อให้แต่ละประเทศเห็นว่า APCD เป็นของทุกประเทศ ไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะคนไทย
- ผมได้นำเสนอให้ APCD ทำงานในระดับอนุภูมิภาคมากขึ้น เช่น กับ ASEAN, Pacific Disability Forum ฯลฯ และควรส่งเสริมให้แต่ละอนุภูมิภาคมี Disability Forum เพื่อเป็นหน่วยงานประสานงานของ APCD ลดการร่วมงานกับประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะลง เพราะไม่สามารถทำได้ทั้งหมดทุกประเทศอยู่แล้ว รวมทั้ง APCD ควรมีบทบาทในระดับภูมิภาคหรือสากลมากขึ้น ไม่ใช่แค่การไปร่วมงาน แต่ควรเป็นลักษณะของการเป็น partnership และร่วมกันทำงานกับองค์กรอื่น ๆ (ที่อาจจะมีหรือไม่มีประเด็นความพิการ—แต่รวมเรื่องคนพิการเข้าไป) เพื่อเปิดพื้นที่การทำงานให้กว้างขึ้น และจะทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นในระดับนั้น และจะทำให้ทำกิจกรรม Fundraising ได้ง่ายขึ้นด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณสว่าง ศรีสม รองหัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน หรือส่งซ้ำ
ขวัญฤทัย สว่างศรี
ผู้ประสานงานโครงการในประเทศ
องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
29/486 หมู่ 9 ซอย12 เมืองทองธานี
ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02 - 5034268 โทรสาร 02- 5034269
มือถือ 086 6222602
Email : kwanruthai@dpiap.org , iam_jeabja@hotmail.com
Website: http://www.dpiap.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น